เทคโนโลยี IEEE 1394 (Fire Wire) เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกความเร็วสูง และยังเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มของอุปกรณ์ที่ต้องการอัตราการส่งผ่าน ข้อมูลสูงๆ เช่น การ์ดตัดต่อวิดีโอหรืออุปกรณ์แบ็กอัพข้อมูลขนาดใหญ่ IEEE 1394 นั้นถูกออกแบบให้เป็นบัสอนุกรมประสิทธิภาพสูง มีลักษณะการทำงานในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ที่จะใช้การต่อเชื่อมเป็นแบบอนุกรม ซึ่งถูกพัฒนาให้มีการส่งผ่านข้อมูลสูงถึง 800 Mbps โดยเรียกกันว่า IEEE 1394 , Fire Wire หรือ I-link ซึ่งเป็นชนิดเดียวกัน
Fire Wire นั้นเป็นชื่อที่จดทะเบียนทางการค้าของ Apple Computer Inc. ส่วน i-link เป็นชื่อที่จดทะเบียนทางการค้าของ Sony Corporation และสุดท้าย IEEE-1394a (Fire Wire400) และ IEEE-1394b (Fire Wire800) เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อของกลุ่ม IEEE ซึ่งเป็นมาตรฐานของการรับ-ส่งข้อมูลขนาดใหญ่ และความเร็วสูง ระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ
การเชื่อมต่ออีกรูปแบบที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาภายหลังและมีการนำเอามาเปรียบ เทียบกันมากก็คือ มาตรฐาน USB 2.0 ซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่จะอยู่ในกลุ่มของอุปกรณ์ต่อพ่วงอย่าง เมาส์, พรินเตอร์ หรือ สแกนเนอร์ โดยจำกัดอยู่ในกลุ่มที่เคยใช้การเชื่อมต่อแบบ USB 1.1 เพราะว่า USB 2.0 ถึงแม้จะมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ 480Mbps (Fire Wire อยู่ที่ 400Mbps) แต่เมื่อใช้งานจริง Fire Wire กลับมีความเร็วเหนือกว่า เพราะว่าโปรแกรมต่างๆ ในปัจจุบัน สามารถดึงเอาประสิทธิภาพการทำงานของ Fire Wire ออกมาได้มากกว่า (แอพพลิเคชันสำหรับการตัดต่อจากกล้องวิดีโอส่วนใหญ่จะถูกออกแบบมาให้ทำงาน ร่วมกับ Fire Wire มากกว่า) และยังมีข้อเปรียบเทียบอีกอย่างก็คือ USB สามารถใช้งานได้ 1 อุปกรณ์ต่อ 1 พอร์ต USB เท่านั้น (ไม่รวมกรณีที่ใช้ USB hub) ดังนั้นคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่จึงมีพอร์ต USB ติดมากับเครื่องเยอะ (อย่างต่ำๆ ก็ 4 พอร์ต) ส่วนการใช้ USB hub ถึงแม้ว่าจะสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลายตัวแต่ก็จะทำให้ความเร็วในการใช้ งานลดลง แต่สำหรับ Fire Wire นั้น เนื่องจากใช้พื้นฐานการเชื่อมต่อแบบ Serial (อนุกรม) ทำให้สามารถต่ออุปกรณ์หลายๆ ตัวเรียงกันเป็นลูกโซ่ได้ ซึ่งทำให้สามารถใช้พอร์ต Fire Wire พอร์ตเดียวเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลายชนิด แต่ข้อเสียก็คือผู้ใช้จะต้อง อินเทอร์รัปต์ อุปกรณ์ทุกตัวที่ทำการเชื่อมต่อเสียก่อนจึงทำการถอดอุปกรณ์ตัวนั้นๆ ออกได้
ในปัจจุบัน Fire Wire ได้รับความนิยมจากผู้ผลิตอุปกรณ์ประเภทตัดต่อ แต่ก็เห็นได้ว่าคลื่นลูกหลังอย่าง USB 2.0 ก็ได้รับความนิยมมากเช่นกัน ซึ่งทำให้กลุ่มผู้พัฒนามาตรฐาน
Fire Wire ได้เปิดตัวมาตรฐาน IEEE 1394b ตัวใหม่ที่สามารถรองรับความเร็วการส่งผ่านข้อมูลได้สูงถึง 800Mbps (S800) และ 1600Mbps (S1600)
หน้าที่ 2 - พื้นฐานของ Fire Wire
เนื่องจาก Fire Wire 800 หรือ IEEE 1394 “b” นั้น โดยพื้นฐานแล้วใช้สถาปัตยกรรมเดียวกับ Fire Wire หรือ IEEE 1394 ซึ่งถือกำเนิดในปี 1995 โดยช่วงแรกรู้จักกันในนามของ “iLINK” จาก Sony และ “Lynx” ความเร็วคือ 400Mbps และสามารถเปิดใช้งานหรือ Interrupt อุปกรณ์ได้โดยไม่ต้องเปิดเครื่องใหม่ (Hot plugging)
ในด้านการทำงานนั้นมาตรฐาน IEEE 1394 สามารถรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้มากถึง 63 ชิ้น โดยพื้นฐานของการเชื่อมต่อจะเป็นแบบ Serial แต่เวลาใช้งานจริงนั้นเนื่องจากสามารถต่อแบบแยกสาขาได้ทำให้ไม่จำเป็นต้อง เชื่อมต่ออุปกรณ์มาก ในปัจจุบัน Fire Wire กลายเป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อความเร็วสูงที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย และเนื่องจากราคาที่ถูกลงทำให้ VIA, Texas Intstrument และผู้ผลิตเมนบอร์ดหลายรายได้จับเอาพอร์ต Fire Wire ใส่ไว้ในเมนบอร์ดของบริษัท สำหรับอินเทอร์เฟซ (ส่วนหัวต่อ) จะใช้หัวต่อแบบ 6 พิน โดยสายที่ใช้เชื่อมต่อส่วนมากจะประกอบด้วยสาย 1 คู่ สำหรับส่งผ่านข้อมูลและสายอีก 2 เส้น สำหรับจ่ายไฟ ซึ่งสายแบบนี้จะสามารถรองรับการใช้ไฟได้มากที่สุดถึง 1.5A ส่วนความดันไฟที่รับได้จะอยู่ระหว่าง 8V ถึง 30V ในด้านของความยาวสายอนุญาตให้มีสายยาวที่สุดได้ 4.5 เมตร สุดท้ายข้อได้เปรียบที่ Fire Wire เหนือกว่า USB 2.0 ก็คือ สามารถใช้งานในระบบปฏิบัติการอย่าง MAC OS หรือ Linux ได้อย่างไม่มีปัญหาใดๆ และนอกจากนั้นหากใช้ชิป Fire Wire Controller ชั้นดีก็จะทำให้การทำงานผ่าน Fire Wire กินพลังประมวลผลของซีพียูเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับ USB
IEEE 1394 (Fire Wire) สามารถต่อพ่วงกันได้ แบบ Daisy Chain สูงถึง 63 อุปกรณ์ พร้อมทั้งมีความเร็วในการรับและส่งข้อมูลได้สูงถึง 400 Mbit/sec ทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและอุปกรณ์ที่สามารถใช้ได้กับ Fire Wire ไม่ใช่เพียงแต่ Digital Video เท่านั้น ยังมี อุปกรณ์อื่นๆ อีก เช่น โทรทัศน์แบบ Direct to Home (DTH) , Harddisk , Scanner , เครื่องพิมพ์, เครื่องเล่น DVD,CD เป็นต้น แต่ในงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด หรือคนนำไปใช้งานนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นงานทางด้านการตัดต่อวีดีโอหรือที่เราเรียกกันว่า "Digital Video Editing" ซึ่ง Fire Wire-1394 ก็ได้เห็นความสำคัญของงานนี้ จึงได้มีการ Bundle Software สำหรับงานตัดต่อวีดีโอมาให้พร้อมแล้วคือ "ULEAD Video Studio Ver 6.0 SE Edittion" ซึ่งจะทำให้ท่านสามารถเก็บภาพ จากอุปกรณ์วีดีโอ เข้ามาเก็บใน Harddisk และสามารถแก้ไข ตัดต่อ ภาพได้ตามความต้องการ ได้ง่ายเหมือนเป็น " Home Video Studio"
ในปัจจุบัน IEEE 1394 (Fire Wire) หรือ i-link กำลังได้รับการพัฒนาเพื่อเป็นมาตรฐานที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทบันเทิง สื่อสารข้อมูล และคอมพิวเตอร์ เข้าด้วยกัน โดยมีแนวทางหลัก ๆ ดังนี้
• ความสามารถในการส่งผ่านข้อมูลที่ 100 , 200 , 400 และ 800 Mbps
• Analog / Digital Converter จะทำเฉพาะที่อุปกรณ์เครื่องใช้ต้นทางเท่านั้น หลักจากนั้นจะเป็น Digital ทั้งหมด
• สายสัญญาณขนาดเล็กที่เชื่อมต่อสามารถขยายความยาวออกไปได้ด้วยสายเชื่อมต่อ พิเศษที่มีคุณภาพสูงกว่าและราคาแพง
• ไม่ต้องใช้จุดเปิด หรือ Terminator ไม่ต้องกำหนด device ID และไม่ต้องกำหนดหมายเลขใดๆ ที่ตัวอุปกรณ์
• Hot-pluggable คือ เราสามารถต่อเชื่อมหรือถอดอุปกรณ์ออกในขณะที่กำลังใช้งานอยู่ได้ (การเสียบ/ถอดโดยไม่ต้องปิดเครื่อง)
• ออกแบบมาให้ใช้สำหรับสินค้าประเภทคอนซูเมอร์จึงมีราคาถูก
• เป็นระบบที่ทำให้อุปกรณ์ความเร็วต่างกันสามารถใช้งานร่วมกันได้ 100 , 200 , 400 และ 800 Mbps
• รูปแบบการเชื่อมต่อที่เป็นทั้ง daisy chain การต่อแยกแบบ Tree และการต่อตรงแบบ Peer – to – Peer
• มีขบวนการในการควบคุมเวลา สำหรับการส่งผ่านข้อมูลที่มีคุณภาพ โดยมีจุดพักข้อมูลที่น้อยที่สุด
• เป็นระบบเปิดไม่ผูกขาดสำหรับสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง
• ขบวนการบริหาร “Bus” มีระบบป้องกันที่ดีมาก รวมทั้งการจัดสรรแหล่งพลังงานของทุกตัวอุปกรณ์ที่อยู่บน “Bus” เดียวกัน อุปกรณ์ต้องสามารถสัมผัสการต่อเชื่อมได้อย่างรวดเร็ว
หน้าที่ 3 - การทำงานของเทคโนโลยี IEEE 1394 (Fire Wire)
การนำ IEEE 1394 (Fire Wire) ไปใช้งาน
ระบบปฏิบัติการ(OS) ที่สนับสนุนการเชื่อมต่อ Fire Wire ในตระกูลพีซีก็คือ Window XP ผู้ที่ต้องการจะใช้ Fire Wire ต้องตรวจสอบว่าบนพีซีระบปฏิบัติการที่ใช้สนับสนุนหรือไม่ โดยการที่จะใช้ Fire Wire ได้นั้น เมนบอร์ดต้องสนับสนุนด้วยซึ่งต้องมีชิปเพิ่มลงไปในเมนบอร์ด สำหรับพีซีนั้น ในขณะนี้มีเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆหลายรุ่นได้ติดตั้งช่องสำหรับการต่อเชื่อม อุปกรณ์ประเภท Fire Wire มาให้แล้ว ถ้าคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานมีระบบปฏิบัติการที่ Window XP สนับสนุนการเชื่อมต่อแบบ Fire Wire แต่เมนบอร์ดที่ใช้กลับไม่มีพอร์ตดังกล่าว สามารถซื้อการ์ด Fire Wire Controller ซึ่งเป็นการ์ดที่มีอินเทอร์เฟซแบบ PCI มาติดตั้งเพิ่มเติมได้ ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชนั้นมีพอร์ต Fire Wire มาพร้อมอยู่แล้ว และอุปกรณ์ที่มีต่อพ่วงอินเทอร์เฟส Fire Wire ในขณะนี้ยังมีไม่มากนัก
เมื่อ IEEE 1394 เข้ามาแทนที่พอร์ต I/O อื่น ๆ แล้ว ประเด็นที่ต้องพิจารณา 2 ประเด็น คือ จำนวนอุปกรณ์ที่สามารถนำเข้ามาต่อพ่วงได้และมีความเร็วในการรับส่งข้อมูล แน่นอนว่าการรับส่งข้อมูลที่เร็วกว่าเดิมถึง 40 เท่า ของ USB 2.0 คงไม่สามารถจะใช้เพียง 4 เส้น คือ รับ-ส่งข้อมูล 2 เส้น และเป็นสายไฟเลี้ยง 2 เส้น อย่างใน USB 1.1 ได้ โดย Fire Wire จะใช้สายทั้งหมด 6 เส้น
จากภาพนั้นเราจะเห็นได้ชัดว่ามีสายที่ใช้สำหรับรับและส่งข้อมูล 4 เส้น โดยแยกออกจากกัน โดยข้อมูลจะส่งผ่านสายแต่ละคู่ในรูปของชุดข้อมูล โดยจะบรรจุไปด้วยข้อมูลที่ต้องการรับและส่งค่าแอดเดรสในการรับส่งข้อมูลนั้น ๆ สิ่งที่ทำให้มาตรฐาน IEEE 1394 นี้สามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง เพราะการออกแบบที่ดีของสายนำสัญญาณที่สามารถลดระดับของสัญญาณรบกวนลงได้ ทำให้สัญญาณที่ส่งไปนั้นรวดเร็วและไม่มีความผิดพลาด ซึ่งมาตรฐานที่ IEEE 1394 นั้นจะต่อกับอุปกรณ์ได้ทั้งหมด 63 อุปกรณ์ และการต่อจะมีลักษณะคล้ายกับการต่อแบบ Peer to Peer network คือ อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงอยู่นั้นจะไม่มีตัวหนึ่งตัวใดเป็นตัวควบคุมการรับส่ง ข้อมูลแต่สามารถติดต่อกันเองได้ไม่เหมือน USB ที่จะต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมแต่ Fire Wire ไม่ต้องให้คอมพิวเตอร์ควบคุมและจัดการการรับส่งข้อมูล Fire Wire หรือ IEEE 1394 นั้น อุปกรณ์สามารถสื่อสารกันเองได้ ซึ่งทำให้เกิดลักษณะการสื่อสารที่ I/O ชนิดอื่น ๆ ไม่มี การที่คอมพิวเตอร์สองเครื่องสามารถแชร์อุปกรณ์ต่อพ่วงกันได้
การรับส่งข้อมูลจะมีทั้งโหนดของ Asynchronously และ Isochronously โดยการส่งแบบ Asynchronously จะสามารถอินเทอรัปต์ได้ แต่ใน Isochronously mode จะไม่สามารถอินเทอร์รัปต์เมื่อการติดต่ออยู่ในแบบ Asynchronously mode ระบบจะจัดแบ่งแบนด์วิดธ์ตามที่อุปกรณ์ต้องการ เมื่ออุปกรณ์ต้องการส่งข้อมูล อันดับแรกมันจะส่งสัญญาณออกไปก่อนเพื่อตรวจสอบว่าสามารถส่งขึ้นไปในระบบบัส ได้หรือไม่ ถ้าตรวจพบว่าว่างแล้วจึงจะส่งข้อมูลออกมายังบัส แต่ขบวนการเช่นนี้ไม่เหมาะสมสำหรับการส่งข้อมูลแบบ streaming video เพราะหากมีอุปกรณ์อื่นต่อพ่วงอยู่และขอแบนด์วิดธ์ในการส่งขึ้นมา streaming video นั้นจะถูกอินเทอร์รัปต์ ทำให้ภาพกระตุก เป็นต้น ดังนั้น เมื่อใช้อุปกรณ์ที่ส่งข้อมูลแบบ streaming video การส่งข้อมูลมักจะเป็นแบบ Isochronously mode โดยรับรองได้ว่าข้อมูลนั้นสามารถส่งได้ตามที่อุปกรณ์นั้น ๆ ได้ขอแบนด์วิทธ์เอาไว้ และในด้านเทคโนโลยีนั้น Fire Wire จะสนับสนุนการส่งผ่านข้อมูลแบบ Isochronously mode ที่สนับสนุนแบนด์วิทธ์ของอุปกรณ์ต่างประเภทกัน โดยสนับสนุนอุปกรณ์ที่ส่งข้อมูลในลักษณะสายข้อมูล (Data Streming) อันได้แก่ Audio Video และ imaging
หน้าที่ 4 - IEEE 1394b (Fire Wire 800)
Fire Wire 800 หรือ IEEE 1394b นั้นได้รับการรับรองมาตรฐานตั้งแต่ปี 2002 ส่วนสิ่งที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงจาก Fire Wire รุ่นเดิมมีดังนี้
• ความเร็วการส่งผ่านข้อมูลที่สูงขึ้น Fire Wire 800 มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลอยู่ที่ประมาณ 800Mbps ซึ่งนับว่าเร็วเป็น 2 เท่าของรุ่นเดิมและจากการที่ใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสแบบเดียวกับที่ใช้ใน Gigabit Ethernet ทำให้ในทางทฤษฎีแล้ว IEEE 1394 สามารถมีความเร็วได้สูงถึง 3,200Mbps ซึ่งด้วยความเร็วขนาดนี้จะทำให้สามารถนำไปใช้ในงานตัดต่อวิดีโอขั้นสูงอย่าง High-definition (HD) Video
ลักษณะของหัว Connector ที่สามารถทำให้ Fire Wire 800 และ Fire Wire รุ่นเดิมทำงานด้วยกันได้เนื่องจาก Fire Wire 800 นั้นมีการทำงานอยู่ 2 โหมด คือโหมด beta ที่มีการเข้ารหัสความเร็วสูง ส่วนอีกโหมดก็คือ โหมด Legacy ที่จะมีความเข้ากันได้กับมาตรฐาน Fire Wire รุ่นเก่า (ทั้ง IEEE 1394-1995 และ IEEE 1394a)
• การส่งข้อมูลแบบ Real-time Fire Wire มีความแตกต่างจากเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกอื่นๆ ตรงที่สามารถส่งผ่านข้อมูลในลักษณะของ Real-time ซึ่งมีความจำเป็นมากในงานตัดต่อวิดีโอหรือเพลง ซึ่งลักษณะของการส่งผ่านข้อมูลจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ Isochronous และ Asynchronous โดยแบบแรกจะเหมาะกับงานที่ต้องการความถูกต้องของลำดับข้อมูล (เช่นการตัดต่อวิดีโอ) ในขณะที่แบบที่สองนั้นจะเหมาะกับงานที่ต้องการความครบถ้วนของข้อมูลโดยไม่ สนใจเรื่องลำดับของข้อมูล
• on-Bus power ไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้แหล่งจ่ายไฟจากภายนอก สามารถชาร์จไฟอุปกรณ์ในขณะที่ทำการเชื่อมต่อได้เลย แต่ในกรณีนี้จะใช้ไม่ได้กับหัว Connector และสายแบบ 4 พิน เพราะว่าหัวต่อและสายประเภทนี้จะไม่มีการจ่ายไฟออกมาจากพอร์ตแต่อย่างใด
• พัฒนาการที่ดีกว่า USB 2.0 การเชื่อมต่อแบบ USB 2.0 จะได้รับความนิยมมากในอุปกรณ์ภายนอกหลายชนิด แต่ยังคงด้อยกว่าในหลายๆ ด้าน ทั้งในเรื่องของความเร็ว, ความยาวของสายที่รองรับและกำลังไฟที่จ่ายผ่านพอร์ต ทำให้เมื่อเทียบกันแล้ว FireWire จะรองรับงานที่ต้องใช้การส่งผ่านข้อมูลหนักๆ อย่างงานวิดีโอ, มัลติมีเดีย, งานกราฟิกหรืองานในสตูดิโอได้ดีกว่า นอกจากนั้น FireWire 800 ยังมีลักษณะการส่งผ่านข้อมูลแบบ Peer-to-Peer ทำให้การส่งผ่านข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ด้วยกันสามารถทำได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูล ผ่านมายังคอมพิวเตอร์ก่อน ซึ่งเป็นการประหยัดเวลาและลดการใช้งานทรัพยากรของซีพียูไปได้มากเมื่อเทียบ กับ USB
หน้าที่ 5 - การขยายขีดความสามารถของ IEEE 1394 (Fire Wire) ในอนาคต
ข้อจำกัดของ Fire Wire
Fire Wire ไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานแบบเน็ตเวิร์กโดยเฉพาะ และโพรโตคอล IPv4 ที่ใช้กับ IEEE 1394 นั้นไม่ได้รับการปรับแต่งให้มีประสิทธิภาพด้านความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล มากนัก และสุดท้ายก็คือ ข้อจำกัดของตัวระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอง ซึ่งหากนำไปใช้กับระบบปฏิบัติอื่นๆ อย่าง Linux หรือ Unix ก็จะได้ความเร็วมากกว่านี้ แต่ข้อจำกัดที่สุดของ Fire Wire Network ก็คือ ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอยู่ในระดับต่ำมาก ทำให้เน็ตเวิร์กที่สร้างจาก Fire Wire จะเหมาะกับการใช้งานในบ้านเท่านั้นเพราะไม่ต้องสนใจเรื่องการรักษาความ ปลอดภัยกันมากมายนักทำให้ภาพรวมของการใช้งาน Fire Wire 800 เป็นระบบเน็ตเวิร์ก จะมีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ได้เท่านั้น
ขีดความสามารถของ IEEE 1394 (Fire Wire) ในอนาคต
• การเชื่อมต่อ กับระบบ gigabit
• การเชื่อมต่อ กับ 100 Mbit/s
• การขยายความยาวของสาย โดยใช้สายนำสัญญาณที่สามารถรองรับการทำงานได้ดีกว่าเดิม และการใช้ Fiber Optic
• การกำหนด A/V command และ protocol
• ระบบเชื่อมต่อระหว่างกลุ่ม ของ 1394 ด้วยกันเอง
• การทำ gateway ไปสู่ระบบสื่อสารข้อมูลอื่น ๆ เช่น ATM , Ethernet เป็นต้น
ทิศทางของ IEEE 1394 (Fire Wire)
ทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลคอมพิวเตอร์ วีดิทัศน์ เสียง โทรศัพท์ โทรสาร และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกทั้งหลายกำลังจะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ง่าย ขึ้น ซึ่งความสามารถในการเชื่อมต่อเข้าหากันโดยไม่ต้องปิดเครื่อง ทำให้ผู้ใช้ลดความกังวลในความยุ่งยากต่าง ๆ เช่น กลัวเครื่องเสียหรือกลัวไฟฟ้าซอต เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะหายไปและอุปกรณ์ที่ซับซ้อนเหล่านี้ก็จะอยู่ใกล้ชิดกับผู้คน มากขึ้น
อ้างอิง http://www.overclockzone.com/forums/showthread.php/784838-Firewire-port-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3
Fire Wire นั้นเป็นชื่อที่จดทะเบียนทางการค้าของ Apple Computer Inc. ส่วน i-link เป็นชื่อที่จดทะเบียนทางการค้าของ Sony Corporation และสุดท้าย IEEE-1394a (Fire Wire400) และ IEEE-1394b (Fire Wire800) เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อของกลุ่ม IEEE ซึ่งเป็นมาตรฐานของการรับ-ส่งข้อมูลขนาดใหญ่ และความเร็วสูง ระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ
การเชื่อมต่ออีกรูปแบบที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาภายหลังและมีการนำเอามาเปรียบ เทียบกันมากก็คือ มาตรฐาน USB 2.0 ซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่จะอยู่ในกลุ่มของอุปกรณ์ต่อพ่วงอย่าง เมาส์, พรินเตอร์ หรือ สแกนเนอร์ โดยจำกัดอยู่ในกลุ่มที่เคยใช้การเชื่อมต่อแบบ USB 1.1 เพราะว่า USB 2.0 ถึงแม้จะมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ 480Mbps (Fire Wire อยู่ที่ 400Mbps) แต่เมื่อใช้งานจริง Fire Wire กลับมีความเร็วเหนือกว่า เพราะว่าโปรแกรมต่างๆ ในปัจจุบัน สามารถดึงเอาประสิทธิภาพการทำงานของ Fire Wire ออกมาได้มากกว่า (แอพพลิเคชันสำหรับการตัดต่อจากกล้องวิดีโอส่วนใหญ่จะถูกออกแบบมาให้ทำงาน ร่วมกับ Fire Wire มากกว่า) และยังมีข้อเปรียบเทียบอีกอย่างก็คือ USB สามารถใช้งานได้ 1 อุปกรณ์ต่อ 1 พอร์ต USB เท่านั้น (ไม่รวมกรณีที่ใช้ USB hub) ดังนั้นคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่จึงมีพอร์ต USB ติดมากับเครื่องเยอะ (อย่างต่ำๆ ก็ 4 พอร์ต) ส่วนการใช้ USB hub ถึงแม้ว่าจะสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลายตัวแต่ก็จะทำให้ความเร็วในการใช้ งานลดลง แต่สำหรับ Fire Wire นั้น เนื่องจากใช้พื้นฐานการเชื่อมต่อแบบ Serial (อนุกรม) ทำให้สามารถต่ออุปกรณ์หลายๆ ตัวเรียงกันเป็นลูกโซ่ได้ ซึ่งทำให้สามารถใช้พอร์ต Fire Wire พอร์ตเดียวเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลายชนิด แต่ข้อเสียก็คือผู้ใช้จะต้อง อินเทอร์รัปต์ อุปกรณ์ทุกตัวที่ทำการเชื่อมต่อเสียก่อนจึงทำการถอดอุปกรณ์ตัวนั้นๆ ออกได้
ในปัจจุบัน Fire Wire ได้รับความนิยมจากผู้ผลิตอุปกรณ์ประเภทตัดต่อ แต่ก็เห็นได้ว่าคลื่นลูกหลังอย่าง USB 2.0 ก็ได้รับความนิยมมากเช่นกัน ซึ่งทำให้กลุ่มผู้พัฒนามาตรฐาน
Fire Wire ได้เปิดตัวมาตรฐาน IEEE 1394b ตัวใหม่ที่สามารถรองรับความเร็วการส่งผ่านข้อมูลได้สูงถึง 800Mbps (S800) และ 1600Mbps (S1600)
หน้าที่ 2 - พื้นฐานของ Fire Wire
เนื่องจาก Fire Wire 800 หรือ IEEE 1394 “b” นั้น โดยพื้นฐานแล้วใช้สถาปัตยกรรมเดียวกับ Fire Wire หรือ IEEE 1394 ซึ่งถือกำเนิดในปี 1995 โดยช่วงแรกรู้จักกันในนามของ “iLINK” จาก Sony และ “Lynx” ความเร็วคือ 400Mbps และสามารถเปิดใช้งานหรือ Interrupt อุปกรณ์ได้โดยไม่ต้องเปิดเครื่องใหม่ (Hot plugging)
ในด้านการทำงานนั้นมาตรฐาน IEEE 1394 สามารถรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้มากถึง 63 ชิ้น โดยพื้นฐานของการเชื่อมต่อจะเป็นแบบ Serial แต่เวลาใช้งานจริงนั้นเนื่องจากสามารถต่อแบบแยกสาขาได้ทำให้ไม่จำเป็นต้อง เชื่อมต่ออุปกรณ์มาก ในปัจจุบัน Fire Wire กลายเป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อความเร็วสูงที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย และเนื่องจากราคาที่ถูกลงทำให้ VIA, Texas Intstrument และผู้ผลิตเมนบอร์ดหลายรายได้จับเอาพอร์ต Fire Wire ใส่ไว้ในเมนบอร์ดของบริษัท สำหรับอินเทอร์เฟซ (ส่วนหัวต่อ) จะใช้หัวต่อแบบ 6 พิน โดยสายที่ใช้เชื่อมต่อส่วนมากจะประกอบด้วยสาย 1 คู่ สำหรับส่งผ่านข้อมูลและสายอีก 2 เส้น สำหรับจ่ายไฟ ซึ่งสายแบบนี้จะสามารถรองรับการใช้ไฟได้มากที่สุดถึง 1.5A ส่วนความดันไฟที่รับได้จะอยู่ระหว่าง 8V ถึง 30V ในด้านของความยาวสายอนุญาตให้มีสายยาวที่สุดได้ 4.5 เมตร สุดท้ายข้อได้เปรียบที่ Fire Wire เหนือกว่า USB 2.0 ก็คือ สามารถใช้งานในระบบปฏิบัติการอย่าง MAC OS หรือ Linux ได้อย่างไม่มีปัญหาใดๆ และนอกจากนั้นหากใช้ชิป Fire Wire Controller ชั้นดีก็จะทำให้การทำงานผ่าน Fire Wire กินพลังประมวลผลของซีพียูเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับ USB
IEEE 1394 (Fire Wire) สามารถต่อพ่วงกันได้ แบบ Daisy Chain สูงถึง 63 อุปกรณ์ พร้อมทั้งมีความเร็วในการรับและส่งข้อมูลได้สูงถึง 400 Mbit/sec ทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและอุปกรณ์ที่สามารถใช้ได้กับ Fire Wire ไม่ใช่เพียงแต่ Digital Video เท่านั้น ยังมี อุปกรณ์อื่นๆ อีก เช่น โทรทัศน์แบบ Direct to Home (DTH) , Harddisk , Scanner , เครื่องพิมพ์, เครื่องเล่น DVD,CD เป็นต้น แต่ในงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด หรือคนนำไปใช้งานนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นงานทางด้านการตัดต่อวีดีโอหรือที่เราเรียกกันว่า "Digital Video Editing" ซึ่ง Fire Wire-1394 ก็ได้เห็นความสำคัญของงานนี้ จึงได้มีการ Bundle Software สำหรับงานตัดต่อวีดีโอมาให้พร้อมแล้วคือ "ULEAD Video Studio Ver 6.0 SE Edittion" ซึ่งจะทำให้ท่านสามารถเก็บภาพ จากอุปกรณ์วีดีโอ เข้ามาเก็บใน Harddisk และสามารถแก้ไข ตัดต่อ ภาพได้ตามความต้องการ ได้ง่ายเหมือนเป็น " Home Video Studio"
ในปัจจุบัน IEEE 1394 (Fire Wire) หรือ i-link กำลังได้รับการพัฒนาเพื่อเป็นมาตรฐานที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทบันเทิง สื่อสารข้อมูล และคอมพิวเตอร์ เข้าด้วยกัน โดยมีแนวทางหลัก ๆ ดังนี้
• ความสามารถในการส่งผ่านข้อมูลที่ 100 , 200 , 400 และ 800 Mbps
• Analog / Digital Converter จะทำเฉพาะที่อุปกรณ์เครื่องใช้ต้นทางเท่านั้น หลักจากนั้นจะเป็น Digital ทั้งหมด
• สายสัญญาณขนาดเล็กที่เชื่อมต่อสามารถขยายความยาวออกไปได้ด้วยสายเชื่อมต่อ พิเศษที่มีคุณภาพสูงกว่าและราคาแพง
• ไม่ต้องใช้จุดเปิด หรือ Terminator ไม่ต้องกำหนด device ID และไม่ต้องกำหนดหมายเลขใดๆ ที่ตัวอุปกรณ์
• Hot-pluggable คือ เราสามารถต่อเชื่อมหรือถอดอุปกรณ์ออกในขณะที่กำลังใช้งานอยู่ได้ (การเสียบ/ถอดโดยไม่ต้องปิดเครื่อง)
• ออกแบบมาให้ใช้สำหรับสินค้าประเภทคอนซูเมอร์จึงมีราคาถูก
• เป็นระบบที่ทำให้อุปกรณ์ความเร็วต่างกันสามารถใช้งานร่วมกันได้ 100 , 200 , 400 และ 800 Mbps
• รูปแบบการเชื่อมต่อที่เป็นทั้ง daisy chain การต่อแยกแบบ Tree และการต่อตรงแบบ Peer – to – Peer
• มีขบวนการในการควบคุมเวลา สำหรับการส่งผ่านข้อมูลที่มีคุณภาพ โดยมีจุดพักข้อมูลที่น้อยที่สุด
• เป็นระบบเปิดไม่ผูกขาดสำหรับสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง
• ขบวนการบริหาร “Bus” มีระบบป้องกันที่ดีมาก รวมทั้งการจัดสรรแหล่งพลังงานของทุกตัวอุปกรณ์ที่อยู่บน “Bus” เดียวกัน อุปกรณ์ต้องสามารถสัมผัสการต่อเชื่อมได้อย่างรวดเร็ว
หน้าที่ 3 - การทำงานของเทคโนโลยี IEEE 1394 (Fire Wire)
การนำ IEEE 1394 (Fire Wire) ไปใช้งาน
ระบบปฏิบัติการ(OS) ที่สนับสนุนการเชื่อมต่อ Fire Wire ในตระกูลพีซีก็คือ Window XP ผู้ที่ต้องการจะใช้ Fire Wire ต้องตรวจสอบว่าบนพีซีระบปฏิบัติการที่ใช้สนับสนุนหรือไม่ โดยการที่จะใช้ Fire Wire ได้นั้น เมนบอร์ดต้องสนับสนุนด้วยซึ่งต้องมีชิปเพิ่มลงไปในเมนบอร์ด สำหรับพีซีนั้น ในขณะนี้มีเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆหลายรุ่นได้ติดตั้งช่องสำหรับการต่อเชื่อม อุปกรณ์ประเภท Fire Wire มาให้แล้ว ถ้าคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานมีระบบปฏิบัติการที่ Window XP สนับสนุนการเชื่อมต่อแบบ Fire Wire แต่เมนบอร์ดที่ใช้กลับไม่มีพอร์ตดังกล่าว สามารถซื้อการ์ด Fire Wire Controller ซึ่งเป็นการ์ดที่มีอินเทอร์เฟซแบบ PCI มาติดตั้งเพิ่มเติมได้ ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชนั้นมีพอร์ต Fire Wire มาพร้อมอยู่แล้ว และอุปกรณ์ที่มีต่อพ่วงอินเทอร์เฟส Fire Wire ในขณะนี้ยังมีไม่มากนัก
เมื่อ IEEE 1394 เข้ามาแทนที่พอร์ต I/O อื่น ๆ แล้ว ประเด็นที่ต้องพิจารณา 2 ประเด็น คือ จำนวนอุปกรณ์ที่สามารถนำเข้ามาต่อพ่วงได้และมีความเร็วในการรับส่งข้อมูล แน่นอนว่าการรับส่งข้อมูลที่เร็วกว่าเดิมถึง 40 เท่า ของ USB 2.0 คงไม่สามารถจะใช้เพียง 4 เส้น คือ รับ-ส่งข้อมูล 2 เส้น และเป็นสายไฟเลี้ยง 2 เส้น อย่างใน USB 1.1 ได้ โดย Fire Wire จะใช้สายทั้งหมด 6 เส้น
จากภาพนั้นเราจะเห็นได้ชัดว่ามีสายที่ใช้สำหรับรับและส่งข้อมูล 4 เส้น โดยแยกออกจากกัน โดยข้อมูลจะส่งผ่านสายแต่ละคู่ในรูปของชุดข้อมูล โดยจะบรรจุไปด้วยข้อมูลที่ต้องการรับและส่งค่าแอดเดรสในการรับส่งข้อมูลนั้น ๆ สิ่งที่ทำให้มาตรฐาน IEEE 1394 นี้สามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง เพราะการออกแบบที่ดีของสายนำสัญญาณที่สามารถลดระดับของสัญญาณรบกวนลงได้ ทำให้สัญญาณที่ส่งไปนั้นรวดเร็วและไม่มีความผิดพลาด ซึ่งมาตรฐานที่ IEEE 1394 นั้นจะต่อกับอุปกรณ์ได้ทั้งหมด 63 อุปกรณ์ และการต่อจะมีลักษณะคล้ายกับการต่อแบบ Peer to Peer network คือ อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงอยู่นั้นจะไม่มีตัวหนึ่งตัวใดเป็นตัวควบคุมการรับส่ง ข้อมูลแต่สามารถติดต่อกันเองได้ไม่เหมือน USB ที่จะต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมแต่ Fire Wire ไม่ต้องให้คอมพิวเตอร์ควบคุมและจัดการการรับส่งข้อมูล Fire Wire หรือ IEEE 1394 นั้น อุปกรณ์สามารถสื่อสารกันเองได้ ซึ่งทำให้เกิดลักษณะการสื่อสารที่ I/O ชนิดอื่น ๆ ไม่มี การที่คอมพิวเตอร์สองเครื่องสามารถแชร์อุปกรณ์ต่อพ่วงกันได้
การรับส่งข้อมูลจะมีทั้งโหนดของ Asynchronously และ Isochronously โดยการส่งแบบ Asynchronously จะสามารถอินเทอรัปต์ได้ แต่ใน Isochronously mode จะไม่สามารถอินเทอร์รัปต์เมื่อการติดต่ออยู่ในแบบ Asynchronously mode ระบบจะจัดแบ่งแบนด์วิดธ์ตามที่อุปกรณ์ต้องการ เมื่ออุปกรณ์ต้องการส่งข้อมูล อันดับแรกมันจะส่งสัญญาณออกไปก่อนเพื่อตรวจสอบว่าสามารถส่งขึ้นไปในระบบบัส ได้หรือไม่ ถ้าตรวจพบว่าว่างแล้วจึงจะส่งข้อมูลออกมายังบัส แต่ขบวนการเช่นนี้ไม่เหมาะสมสำหรับการส่งข้อมูลแบบ streaming video เพราะหากมีอุปกรณ์อื่นต่อพ่วงอยู่และขอแบนด์วิดธ์ในการส่งขึ้นมา streaming video นั้นจะถูกอินเทอร์รัปต์ ทำให้ภาพกระตุก เป็นต้น ดังนั้น เมื่อใช้อุปกรณ์ที่ส่งข้อมูลแบบ streaming video การส่งข้อมูลมักจะเป็นแบบ Isochronously mode โดยรับรองได้ว่าข้อมูลนั้นสามารถส่งได้ตามที่อุปกรณ์นั้น ๆ ได้ขอแบนด์วิทธ์เอาไว้ และในด้านเทคโนโลยีนั้น Fire Wire จะสนับสนุนการส่งผ่านข้อมูลแบบ Isochronously mode ที่สนับสนุนแบนด์วิทธ์ของอุปกรณ์ต่างประเภทกัน โดยสนับสนุนอุปกรณ์ที่ส่งข้อมูลในลักษณะสายข้อมูล (Data Streming) อันได้แก่ Audio Video และ imaging
หน้าที่ 4 - IEEE 1394b (Fire Wire 800)
Fire Wire 800 หรือ IEEE 1394b นั้นได้รับการรับรองมาตรฐานตั้งแต่ปี 2002 ส่วนสิ่งที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงจาก Fire Wire รุ่นเดิมมีดังนี้
• ความเร็วการส่งผ่านข้อมูลที่สูงขึ้น Fire Wire 800 มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลอยู่ที่ประมาณ 800Mbps ซึ่งนับว่าเร็วเป็น 2 เท่าของรุ่นเดิมและจากการที่ใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสแบบเดียวกับที่ใช้ใน Gigabit Ethernet ทำให้ในทางทฤษฎีแล้ว IEEE 1394 สามารถมีความเร็วได้สูงถึง 3,200Mbps ซึ่งด้วยความเร็วขนาดนี้จะทำให้สามารถนำไปใช้ในงานตัดต่อวิดีโอขั้นสูงอย่าง High-definition (HD) Video
ลักษณะของหัว Connector ที่สามารถทำให้ Fire Wire 800 และ Fire Wire รุ่นเดิมทำงานด้วยกันได้เนื่องจาก Fire Wire 800 นั้นมีการทำงานอยู่ 2 โหมด คือโหมด beta ที่มีการเข้ารหัสความเร็วสูง ส่วนอีกโหมดก็คือ โหมด Legacy ที่จะมีความเข้ากันได้กับมาตรฐาน Fire Wire รุ่นเก่า (ทั้ง IEEE 1394-1995 และ IEEE 1394a)
• การส่งข้อมูลแบบ Real-time Fire Wire มีความแตกต่างจากเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกอื่นๆ ตรงที่สามารถส่งผ่านข้อมูลในลักษณะของ Real-time ซึ่งมีความจำเป็นมากในงานตัดต่อวิดีโอหรือเพลง ซึ่งลักษณะของการส่งผ่านข้อมูลจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ Isochronous และ Asynchronous โดยแบบแรกจะเหมาะกับงานที่ต้องการความถูกต้องของลำดับข้อมูล (เช่นการตัดต่อวิดีโอ) ในขณะที่แบบที่สองนั้นจะเหมาะกับงานที่ต้องการความครบถ้วนของข้อมูลโดยไม่ สนใจเรื่องลำดับของข้อมูล
• on-Bus power ไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้แหล่งจ่ายไฟจากภายนอก สามารถชาร์จไฟอุปกรณ์ในขณะที่ทำการเชื่อมต่อได้เลย แต่ในกรณีนี้จะใช้ไม่ได้กับหัว Connector และสายแบบ 4 พิน เพราะว่าหัวต่อและสายประเภทนี้จะไม่มีการจ่ายไฟออกมาจากพอร์ตแต่อย่างใด
• พัฒนาการที่ดีกว่า USB 2.0 การเชื่อมต่อแบบ USB 2.0 จะได้รับความนิยมมากในอุปกรณ์ภายนอกหลายชนิด แต่ยังคงด้อยกว่าในหลายๆ ด้าน ทั้งในเรื่องของความเร็ว, ความยาวของสายที่รองรับและกำลังไฟที่จ่ายผ่านพอร์ต ทำให้เมื่อเทียบกันแล้ว FireWire จะรองรับงานที่ต้องใช้การส่งผ่านข้อมูลหนักๆ อย่างงานวิดีโอ, มัลติมีเดีย, งานกราฟิกหรืองานในสตูดิโอได้ดีกว่า นอกจากนั้น FireWire 800 ยังมีลักษณะการส่งผ่านข้อมูลแบบ Peer-to-Peer ทำให้การส่งผ่านข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ด้วยกันสามารถทำได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูล ผ่านมายังคอมพิวเตอร์ก่อน ซึ่งเป็นการประหยัดเวลาและลดการใช้งานทรัพยากรของซีพียูไปได้มากเมื่อเทียบ กับ USB
หน้าที่ 5 - การขยายขีดความสามารถของ IEEE 1394 (Fire Wire) ในอนาคต
ข้อจำกัดของ Fire Wire
Fire Wire ไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานแบบเน็ตเวิร์กโดยเฉพาะ และโพรโตคอล IPv4 ที่ใช้กับ IEEE 1394 นั้นไม่ได้รับการปรับแต่งให้มีประสิทธิภาพด้านความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล มากนัก และสุดท้ายก็คือ ข้อจำกัดของตัวระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอง ซึ่งหากนำไปใช้กับระบบปฏิบัติอื่นๆ อย่าง Linux หรือ Unix ก็จะได้ความเร็วมากกว่านี้ แต่ข้อจำกัดที่สุดของ Fire Wire Network ก็คือ ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอยู่ในระดับต่ำมาก ทำให้เน็ตเวิร์กที่สร้างจาก Fire Wire จะเหมาะกับการใช้งานในบ้านเท่านั้นเพราะไม่ต้องสนใจเรื่องการรักษาความ ปลอดภัยกันมากมายนักทำให้ภาพรวมของการใช้งาน Fire Wire 800 เป็นระบบเน็ตเวิร์ก จะมีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ได้เท่านั้น
ขีดความสามารถของ IEEE 1394 (Fire Wire) ในอนาคต
• การเชื่อมต่อ กับระบบ gigabit
• การเชื่อมต่อ กับ 100 Mbit/s
• การขยายความยาวของสาย โดยใช้สายนำสัญญาณที่สามารถรองรับการทำงานได้ดีกว่าเดิม และการใช้ Fiber Optic
• การกำหนด A/V command และ protocol
• ระบบเชื่อมต่อระหว่างกลุ่ม ของ 1394 ด้วยกันเอง
• การทำ gateway ไปสู่ระบบสื่อสารข้อมูลอื่น ๆ เช่น ATM , Ethernet เป็นต้น
ทิศทางของ IEEE 1394 (Fire Wire)
ทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลคอมพิวเตอร์ วีดิทัศน์ เสียง โทรศัพท์ โทรสาร และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกทั้งหลายกำลังจะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ง่าย ขึ้น ซึ่งความสามารถในการเชื่อมต่อเข้าหากันโดยไม่ต้องปิดเครื่อง ทำให้ผู้ใช้ลดความกังวลในความยุ่งยากต่าง ๆ เช่น กลัวเครื่องเสียหรือกลัวไฟฟ้าซอต เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะหายไปและอุปกรณ์ที่ซับซ้อนเหล่านี้ก็จะอยู่ใกล้ชิดกับผู้คน มากขึ้น
อ้างอิง http://www.overclockzone.com/forums/showthread.php/784838-Firewire-port-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น