วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

ประวัติ Intel/AMD/Apple A4

ประวัติความเป็นมาของ Intel
      อินเทล (Intel) คือบริษัทผู้ผลิตไมโครโพรเซสเซอร์และแผงวงจรอิเล็กทรอนิคส์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ซึ่งเราคงทราบกันดีว่าผลิตภัณฑ์ของอินเทลในปัจจุบันที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ CPU ตระกูล Pentium
และเป็น CPU ที่พบได้มากที่สุดสำหรับคอมพิวเตอร์ทั่วไปบนโลกใบนี้
     บริษัทอินเทลก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กรกฏาคม ค.ศ.1968 ซึ่งชื่อบริษัท Intel นั้นเป็นคำย่อมาจาก
Integrated Electronics Coporation มีบริษัทแม่อยู่ที่เมืองซานตา คาล่า รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศ
สหรัฐอเมริกา โดยผู้ก่อตั้งของบริษัทอินเทลมีสองคน คนแรกคือ กอร์ดอน มัวร์ (Gordon Moore)
และอีกคนคือ โรเบิร์ต นอยซ์ (Robert Noyce) ซึ่งโรเบิร์ต นอยซ์นั้นคืออดีตพนักงานของบริษัท
Fairchild Semiconductor ในยุคแรกนั้นบริษัทอินเทลยังไม่ได้เป็นบริษัทที่ร่ำรวยเหมือนในปัจจุบันนี้
ยังเป็นเพียงบริษัทเล็กๆ พนักงานในยุคแรกเริ่มของบริษัทอินเทลซึ่งถือเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ทำให้บริษัท
อินเทลเจริญก้าวหน้าใหญ่โตเหมือนในปัจจุบันนี้คือ แอนดรูว โกรฟ (Andrew Grove) ซึ่งในปัจจุบัน
แอนดรูว โกรฟกลายมาเป็นผู้บริหารงานคนสำคัญของบริษัทอินเทล จากผลงานของเขาทำให้อินเทลก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทระดับโลกเช่นในปัจจุบัน
      ปัจจุบันบริษัทอินเทลมีผลิตภัณฑ์มากมายนอกจาก CPU ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีแล้ว นอกจากนั้น
ยังมีเมนบอร์ด, แฟลชไดร์ฟ, เน็ตเวิร์คการ์ดและอย่างอื่นอีกมากมาย ในปัจจุบันคงไม่มีใครที่จะบอกว่าไม่
รู้จักบริษัทอินเทลเพราะว่าถือว่าเป็นบริษัทที่มีผลิตภัณฑ์อยู่บนคอมพิวเตอร์ทั่วทุกประเทศบนโลกใบนี้

ประวัติAMD 
    เอเอ็มดี (Advance Micro Devices ชื่อย่อ AMD) เป็นผู้ผลิตแผงวงจรรวมและหน่วยประมวลผล มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่มลรัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นผู้ผลิตไมโครโพรเซสเซอร์ตระกูล x86 อันดับสองรองจากบริษัท Intel  และหน่วยความจำแบบแฟลชมากเป็นอันดับหนึ่งของโลกก่อตั้ง ค.ศ. 1969 โดยพนักงานเก่าจากบริษัท Fairchild Semiconductor
       ผลิตภัณฑ์ของเอเอ็มดีที่เป็นที่รู้จักได้แก่ไมโครโพรเซสเซอร์ตระกูล K6, Athlon, Opteron, Sempron, Duron, Turion และชิปกราฟิก Readeon R600
             เอเอ็มดีเป็นคู่แข่งที่สำคัญของอินเทลในตลาดไมโครโพรเซสเซอร์ และมีคดีความฟ้องร้องกันอยู่ในหลายประเทศ เรื่องอินเทลผูกขาดการค้า ซึ่งส่วนมากอยู่ในระหว่างดำเนินการ
ตระกูลชิปประมวลผลที่เคยผลิต
ที่เลิกผลิตไปแล้ว
-AMD 8086, AMD 80286, AMD 80386, AMD Am486
-AMD K5
-AMD K6 และ AMD K6-2
-AMD Duron
-AMD Thunderbird
-AMD Athlon / AMD K7 เป็นหน่วยประมวลผล บนซ็อคเกต A และ สล็อต A สำหรับตลาดทั่วไป วางจำหน่ายระหว่าง พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2548
อยู่ในสายการผลิตปัจจุบัน
-AMD Sempron เป็นหน่วยประมวลผลแบบ 64 บิต บนซ็อคเกต A, 754, 939 และ ซ็อคเกต AM2 สำหรับเครื่องพีซีราคาประหยัด
-AMD64 / AMD K8 หรือ AMD Athlon64 เป็นหน่วยประมวลผลแบบ 64 บิต บนซ็อคเกต 754, 939 และซ็อคเกต AM2 สำหรับใช้งานในตลาดทั่วไป โดยเป็นรุ่นที่พัฒนาต่อจาก AMD Athlon
-AMD Athlon64 X2 เป็นหน่วยประมวลผลแบบ 64 บิต ชนิดแกนคู่ บนซ็อคเกต 939 และซ็อคเกต AM2 สำหรับใช้งานในตลาดทั่วไป โดยเป็นรุ่นที่พัฒนาต่อจาก AMD Athlon64
-AMD Turion64 เป็นหน่วยประมวลผลแบบ 64 บิต ชนิดแกนเดี่ยว สำหรับคอมพิวเตอร์พกพาหรือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ต้องการทรัพยากรน้อย
-AMD Turion64 X2 เป็นหน่วยประมวลแบบ 64 บิต ชนิดแกนคู่ สำหรับคอมพิวเตอร์พกพาหรือคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ต้องการทรัพยากรน้อย
-AMD Opteron เป็นหน่วยประมวลผลสำหรับเซิรฟเวอร์หรือเวิร์กสเตชันกำลังอยู่ในการพัฒนา
-AMD Phenom เป็นหน่วยประมวลผลตระกูล Stars ซึ่งจะออกจำหน่ายในช่วงไตรมาสที่ 3 พ.ศ. 2550 โดยมีเทคโนโลยี HyperTransport 3.0 และ Socket AM2+
-AMD Kuma เป็นหน่วยประมวลผลตระกูล Stars สำหรับคอมพิวเตอร์แลปท็อบ โดยพัฒนามาจาก AMD Barcelona
-AMD Agena เป็นรหัสสายการผลิตหน่วยประมวลผลตระกูล Phenom ซึ่งจะมี 4 แกนต่อ 1 หน่วยประมวลผล
-AMD Fusion โครงการ CPU+GPU ซึ่งเป็นความหวังของค่าย AMD ที่จะโค่นIntel
          CPU ของ AMD นั้นเป็นคู่แข่งของ  Intel ตลอดมา ด้วยสมรรถภาพที่บางครั้งดูจะ
ดีกว่า Intel แต่ถ้าดูที่ราคาแล้วนั้น CPU ของ AMD จะมีราคาที่ค่อนข้างถูกกว่า Intel แต่ CPU ของ AMD ไม่ได้เป็นที่ดึงดูดใจของผู้ใช้มาระยะหนึ่งแล้วนั้น เนื่องจากทาง Intel ประสบความสำเร็จจากสถาปัตยกรรม Core ซึ่งจะเห็นได้จากที่ AMD สูญเสียความเข้มแข็งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เมื่อ CPU ของ AMD ทุกตัวทำช้ากว่าของ Intel  ใช้พลังงานมากกว่า จึงทำให้ผู้ที่ชอบการ Over Clock ไม่ให้ความสนในเท่า CPU ของ Intel แต่อย่างไรก็ตามด้วยราคาที่ต่ำกว่าจึงทำให้ AMD ยังอยู่ได้ อย่างไรก็ตาม CPU AMD รุ่น Athlon และ Phenom จึงเป็น CPU ที่คุ้มค่าแทนที่จะสมรรถนะสูง
          ซึ่งจากกการที่ทาง AMD ได้เปิดตัวสถาปัตกรรม Star (K10) มาประมาณ 1 ปี แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ถึงแม้ว่า CPU ที่ใช้สถาปัตยกรรมนี้ จะเป็นการผนวกกับการออกแบบ 4 คอร์และการปรับอีกหลายครั้งแต่ก็ยังไม่สามารถทำให้ผู้ใช้พอใจเมื่อเทียบกับ    CPU ของ Intel
    แต่ถ้าดูทางด้านเทคนิคแล้วสถาปัตยกรรม  Star (K10) มีส่วนดีหลายอย่างที่เหมือนกับ Core Microarchitectue ของ Intel แต่ที่จริงแล้วปัญของ AMD นั้นคือการที่ไม่สามารถนำเทคโนลยีการผลิตใหม่มาแทนการกระบวนการผลิดแบบ 65 นาโนเมตรได้
      ดังนั้น AMD จึงต้องทำการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตมาสู่แบบ 45 นาโนเมตร ด้วยการเปิดตัวเทคโนโลยีตัวล่าสุดออกมาด้วยชื่อที่ว่า Phenom II X4  แต่ยังคงใช้สถาปัตยกรรม Star (K10) แบบเดี่ยวกับ Processors Phenom รุ่นก่อน

ประวัติ Apple A4
              A4 ได้เปิดตัว (พร้อมกับ iPad) เมื่อ 27 มกราคม 2553  ในช่วงที่ Apple กำลังสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกมามากมาย
              7 มิถุนายน 2553    สตีฟ จ๊อบส์ ประกาศยืนยันในที่สาธารณะว่า  iPhone 4 จะมี A4 Processor ถึงแม้ว่าช่วงนั้น A4 จะไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายนัก แต่มันก็มีช่วงความถี่เดียวกันกับ iPad ความกว้างของบัสหรือแคชที่เหมือนกับ A4 ที่พบก่อนหน้าที่จะผลิต iPad 
              1 กันยายน 2553    iPod Touch และ AppleTV มีการปรับปรุงเพื่อให้ใช้ได้กับ A4 Processor
              จุดกำเนิดของ A4 เริ่มต้นในปี 2548 จากความรู้ดั้งเดิมที่เรียกว่า PA Semiconductor จากฟอรัม 2005 Fall Processor โดย PA Semiconductor แสดงวิสัยทัศน์สำหรับสถาปัตยกรรม Soc Power PC, The G5-Derived PWR ficient family ซึ่งเป็นชื่อโดยนัย ให้ความสำคัญกับการออกแบบที่มีประสิทธิภาพสูงแบบมัลติคอร์ชิป PowerPC  ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับอุปกรณ์มือถือและในปีเดียวกัน มีโครงการที่ผู้บริหาร Tim Cook เรียกว่า “the mother of all thermal challenges” โดยการใส่โปรเซสเซอร์ G5 ลงในPowerBook   เครื่องโน๊ตบุ๊คของ IBM ไม่เคยถูกทำขึ้นเพื่อรองรับ G5 นั่นคือผลลัพธ์จากการทิ้ง Apple โดยไม่มีอะไรติดมือไป นอกจากPowerPC G4 ชิปแบบเก่า Apple ชิงไหวชิงพริบด้วยการใช้เทคโนโลยีของตนเอง  ซึ่งแสดงให้เห็นว่า Apple ได้มองหาแนวทางแก้ไขไว้อยู่แล้ว
              มันเป็นสถานการณ์ที่น่ากลัวที่ Apple ทิ้งข้อสังเกตุเกี่ยวกับ PA Semi ไว้ และทั้งสอง ได้กลายเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิด ในแผนอนาคตฮาร์ดแวร์ของ Power PC ของ Mac ต่อมาก็เป็นเวรเป็นกรรมของ Apple ที่ WWDC 2005 ประกาศว่าได้สลับไปยัง Intel แล้วในขณะนี้  ความคืบหน้าความสัมพันธ์ในอนาคตระหว่าง Apple และ PA Semi จึงได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง
              แต่วิศวกร 150 คนของ PA Semi  ยังคงส่งต่อพันธกิจตามสัญญาของพวกเขา สมาชิกแต่เพียงผู้เดียวของครอบครัว PWRficient ได้เปิดตัวในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 เริ่มต้นในการเป็นบริษัทคู่ค้าที่ใกล้ชิดที่สุด ตามมาด้วยการเปิดกว้างในภายหลังในปีนั้น  มันเติบโตอย่างมาก เป็นชุดที่มีรายละเอียดที่น่าสนใจ คือ ประกอบด้วย  G5 2 ตัว ขนาด 64 - bit PowerPC  กับตัวควบคุมหน่วยความจำ DDR2 อีก 2 ตัวบนชิปตัวเดียว  มันวิ่งที่ความถี่ 2.0 GHz กับค่าเฉลี่ย 13 วัตต์ และจุดสูงสุดอยู่ที่ 25 วัตต์  ในขณะเดียวกันมากกว่าของ Intel แบบดั้งเดิมที่ออกแบบ Merom Core 2 Duo LV L7700 – การแข่งขันที่สูสีที่สุดในเวลานั้น  อย่างเดียวคือสามารถทำงานที่ 1.8 GHz กับพลังงานสูงสุดที่ 17 วัตต์

               ต้นปีถัดมา Apple มีการสั่งซื้อ PA Semi อย่างเงียบๆ  ในปริมาณมากเพื่อเก็งกำไร ที่ Apple ได้เจตนาที่จะนำความสามารถใหม่ที่ได้มาใช้ในการทำงานบนชิปสำหรับผลิตมือถือในอนาคตเช่น iPods และ iPhones  ซึ่งตอนนั้น Apple ดำเนินการได้เงียบมากจนกระทั่งมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ Hot Hot อย่างที่เห็นกันในปัจจุบัน
                 Apple A4 คือ System-on-a-chip (SoC) หรือ Package on Package (PoP) ออกแบบโดย Apple และผลิตด้วยกระบวนการ 45 นาโนเมตรโดย Samsung เป็นการทำงานร่วมกันของ CPU ARM Cortex-A8 และ GPU PowerVR โดยเน้นเรื่องการประหยัดพลังงาน ชิป Apple A4 นี้เปิดตัวในเชิงพาณิชย์พร้อมกับการเปิดตัวของ iPad ตามมาติดๆด้วย iPhone4 เครื่องเล่น iPod Touch รุ่นที่4 และ  Apple TV รุ่นที่ 2 

                  แกน ARM Cortex-A8 ที่ใช้ใน A4 เป็นความคิดที่จะใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพการพัฒนาโดยนักออกแบบชิปของบริษัท Intrinsity (ซึ่งถูก Apple ซื้อ) ในการร่วมมือกับซัมซุง ที่จะสร้างผลงานที่จะถูกขนานนามว่า “นกฮัมมิ่ง” หรือนกที่ตัวเล็กที่สุดในโลก ที่จะสามารถบินได้ไกลและสูงกว่าอัตราเร็วของสัญญาณนาฬิกา ไกลกว่าการใช้งานอื่นๆที่เหลืออยู่อย่างเต็มที่ในขณะที่เข้ากันได้กับการออกแบบ Cortex-A8 โดย ARM รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพของแคช L2 เช่นเดียวกันกับ CPU Cortex-A8 ที่ใช้ใน A4 ที่จะใช้ได้ใน SoC Samsung's S5PC110A01 
                แพคเกจโปรเซสเซอร์ A4 ไม่มีแรมแต่สนับสนุนการติดตั้ง PoP แพคเกจด้านบนของ A4 ที่ใช้ใน iPad ใน iPod Touch รุ่น 4 และใน Apple TV รุ่น 2 มีชิป DDR SDRAM  ขนาด 128 MB ที่ประหยัดพลังงาน 2 ตัวสำหรับแรม256 MB สำหรับ iPhone 4 มีชิป 2 ตัวขนาด 256 MB สำหรับแรมขนาด 512 MB แรมจะเชื่อมต่อกับ processor โดยใช้ บัส64-bit-wide AMBA 3 AXI ของ ARM นี่เป็นความกว้าง 2 เท่าของแรมบัสข้อมูลที่ใช้ใน ARM-11 และ ARM -9 ก่อนหน้านี้บนอุปกรณ์ของ Apple เพื่อรองรับความต้องการที่มากขึ้นสำหรับแบนด์วิดธ์กราฟิกใน iPad




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น