วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

ชนิดหน่วยความาจำสำรอง แบบต่างๆ

 หน่วยความจำสำรองเป็นหน่วยความจำที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไป หลังจากได้ทำการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว หน่วยความจำสำรองมีประโยชน์ต่อระบบฐานข้อมูลเป็นอย่างมาก ถ้าปราศจากหน่วยความจำสำรองแล้วเราจะไม่สามารถเก็บรักษาข้อมูลเอาไว้ใช้ด้ในอนาคต หน่วจยความจำสำรองใช้เก็บรักษาข้อมูลและโปรแกรมเอาไว้อย่างถาวรจึงทำให้หน่วยความจำสำรองถูกใช้เป็นสื่อในการนำข้อมูลและโปรแกรมจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนีงไปใช้ยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งได้ และนอกจากนี้หน่วยความจำสำรองยังใช้เป็นหน่วยเสริมหน่วยความจำหลัก โดยทำหน้าที่เป็นเสมือนหน่วยความจำหลัก ชื่อเรียกว่าหน่วยความจำเสมือน (virtual memory) กล่าวคือแทนที่จะดึงโปรแกรมทั้งหมดเข้าหน่วยความจำหลักที่มีจำนวนจำกัดพร้อมกันหมด คอมพิวเตอร์จะทำการจัดเก็บโปรแกรมไว้ยังหน่วยความจำเสมือนก่อน และเมื่อต้องการจึงจะดึงคำสั่งจากหน่วยความจำเสมือนเข้าหน่วยความจำหลักเพื่อทำการประมวลผล ดังนั้น จึงสามารถประมวลผลโปรแกรมแรมที่มีขนาดใหญ่กว่าหน่วยความจำหลักได้
หน่วยความจำสำรอง สามารถแบ่งตามลักษณะที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ 2 ชนิด คือ
       2.1 หน่วยความจำสำรองประเภทที่สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรง เป็นหน่วยความจำสำรองที่คอมพิวเตอร์สามารถที่จะเข้าไปกระทำกับข้อมูลที่เก็บในอุปกรณ์ชนิดนั้นตรงส่วนใดก็ได้ในทันที ซึ่งเรียกการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวว่าการเข้าถึงโดยตรงส่วนใดก็ได้ในทันที ซึ่งเรียกการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวว่าการเข้าถึงโดยตรง หรือการเข้าถึงแบบสุ่ม (direct access หรือ random access) อุปกรณ์ชนิดที่สามารถเลื่อนหัวอ่านหรือบันทึกข้อมูลหน่วยความจำประเภทดิสก์ต่าง ๆ ดิสก์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีหลายประเภทได้แก่
- จานบันทึกแม่เหล็ก (magnetic disk) เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้มาก และถูกใช้เป็นหน่วยเก็บข้อมูลที่ใช้ภายในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จนถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ แต่ถึงแม้จะใช้กับเครื่องต่างขนาดกัน โครงสร้างและการใช้งานจะเหมือนกัน จานบันทึกแม่เหล็กที่นิยมใช้กันได้แก่ ฟลอปปี้ดิสก์ (floppy disk) ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) และไมโครดิสก์ (microdisk)
- ออพติคัลดิสก์ (optical disk) เป็นอุปกรณ์ที่ถูกพัฒนาให้มีความจุมากยิ่งขึ้น ได้แก่ ซีดี-รอม (Compact Disk Read Only Memory, CDROM) วอร์ม (Write Once Read Many, WORM) และแมคนิโต ออปติคัลดิสก์ (Magneto-optical disk, MO)
- พีซีเอ็มซีไอเอ (Personal Computer Memory Card International Association, PCMCIA) เป็นหน่วยความจำที่มีขนาดเล็ก มีขนาดความกว้าง 2 นิ้ว และยาวเพียง 3 นิ้ว คล้ายเครดิตการ์ด เป็นหน่วยความจำสำรองใช้เสียบเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในเวลาใช้งาน และเป็นที่นิยมใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
       2.2 หน่วยความจำสำรองประเภทที่สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยเรียงลำดับเท่านั้น เป็นหน่วยความจำสำรองประเภทที่เก็บตัวข้อมูลแบบเรียงลำดับกันไป ตั้งแต่ตำแหน่งแรกจนถึงตำแหน่งสุดท้าย เมื่อต้องการเข้าถึงข้อมูลตรงส่วนใดนั้น หัวอ่านและบันทึกจะต้องทำการอ่านหรือบันทึกข้อมูลตั้งแต่ตำแหน่งแรก เรียงลำดับกันไปจนถึงตำแหน่งสุดท้าย ซึ่งเรียกการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวว่าการเข้าถึงแบบเรียงลำดับ (seguential access) หน่วยความจำสำรองประเภทนี้ส่วนใหญ่จะใช้งานสำรองข้อมูลของระบบ อุปกรณ์ประเภทนี้ได้แก่ เทปแม่เหล็ก
       เทปแม่เหล็กถูกใช้กับงานที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลในลักษณะของการเรียงลำดับกันไป เช่น งานสำรองข้อมูลบนหน่วยความจำประเภทแม่เหล็กเป็นหลัก เทปแม่เหล็กที่ใช้อยู่ปัจจุบันมี 2 ประเภทคือ เป็นลักษณะม้วนเรียกว่า เทปรีล (tape reel) และเทปตลับ (cartridge tape) เทปรีลถูกใช้มากในเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับใหญ่ เช่น เครื่องเมนเฟรม และเครื่องมินิ ส่วนเทปตลับสามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มินิ เทปตลับมีราคาถูกและขนาดเล็กกว่าเทปรีลมาก จนสามารถพกพาติดตัวได้สะดวก แต่มีความจุมากกว่าและราคาถูกกว่าเทปรีล และถูกเรียกว่า ตลับข้อมูล (data Cartridges)

อ้างอิง http://www.sirikitdam.egat.com/WEB_MIS/103_116/12.html

หน่วยความาจำสำรอง

น่วยความจำรอง มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรม  เหมือนกับ หน่วยความจำหลัก แต่ต่างจากหน่วยความจำหลัก คือ    หน่วยความจำรอง สามารถจัดเก็บข้อมูล และโปรแกรมไว้ใช้ในภายหลังได้  แม้จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์  ข้อมูลและโปรแกรมที่เก็บไว้  ไม่สูญหายหรือถูกลบทิ้ง
             นอกจากนี้ หน่วยความจำรอง  สามารถเพิ่มขนาดความจุได้ เนื่องจากหน่วยความจำหลักจะมีขนาดความจุจำกัด
             หน่วยความจำรอง สามารถเพิ่มขนาดความจุได้
            หน่วยประมวลผลจะเรียกใช้ข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำรอง  ได้จะช้ากว่า หน่วยความจำหลัก
ตัวอย่าง หน่วยความจำรอง
    ฮาร์ดิส               แฮนดี้ไดส์              แผ่นดิส์                       
mp 4             mp 3












Port HDMI

HDMI เป็นการเชื่อมต่อเพื่อส่งสัญญาณภาพและเสียงในระบบดิจิตอล ออกแบบมาเพื่อทดแทนการส่งข้อมูลในแบบอนาลอกแบบเดิม ที่มีข้อจำกัดไม่สามารถส่งข้อมูลปริมาณมากๆได้

HDMI = High Definition Multimedia interface

ออกแบบมาเพื่อส่งสัญญาณภาพที่มีความละเอียดสูงๆ หรือที่เรียกว่า HD (High Definition) บนจอมอนิเตอร์ของคอมพิวเตอร์ หรือจอโทรทัศน์ LCD TV บนความละเอียดตั้งแต่ 1366x768 (HD) , 1920x1080 (FullHD) ไปจนถึงความละเอียด 4096x2160 (4K)

Serial Port

Serial Port คือ พอร์ตอนุกรม ในการสื่อสารข้อมูลนั้นพอร์ตอนุกรมจะมีความเร็วในการสื่อสารที่ช้ากว่าแบบ ขนาน เพราะการเคลื่อนย้ายข้อมูลแบบอนุกรมนั้นเป็นการส่งข้อมูลครั้งละ 1 บิต แต่พอร์ตขนานนั้นสามารถส่งข้อมูลทีละหลายๆ บิทพร้อมๆกันได้ แต่ข้อดีของการสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรมคือ สามารถส่งข้อมูลได้ในระยะทางที่ไกลกว่าแบบขนาน และใช้สายสัญญาณที่น้อยกว่าการสื่อสารข้อมูลแบบขนาน
ประเภทของการสื่อสารแบบอนุกรมแบ่งตามลักษณะสัญญาณในการส่งแบ่งได้ 2 แบบ คือ
1.การสื่อสารแบบซิงโครนัส (Synchronous) เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยใช้สัญญาณนาฬิกาในการควบคุมจังหวะของการรับส่งสัญญาณ
2.การสื่อสารแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous) เป็นการสื่อสารที่ใช้สายข้อมูลเพียงตัวเดียว จะใช้รูปแบบของการส่งข้อมูล(Bit Pattern) เป็นตัวกำหนดว่าส่วนไหนเป็นส่วนเริ่มต้นข้อมูล ส่วนไหนเป็นตัวข้อมูล ส่วนไหนจะเป็นตัวตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และส่วนไหนเป็นส่วนปิดท้ายของข้อมูล โดยต้องกำหนดให้สัญญาณนาฬิกาเท่ากันทั้งภาคส่งและภาครับ
สำหรับการติดต่อสื่อสารลักษณะนี้จะใช้การรับส่งข้อมูลแบบ Asynchronous คือจะใช้สายข้อมูลเพียงสายเดียว
มาตรฐาน RS-232 เป็นมาตรฐานของการรับส่งข้อมูลแบบอนุกรมที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อที่จะทำ ให้อุปกรณ์ต่อพ่วงจากผู้ผลิตต่างกันสามารถทำงานร่วมกันได้ มาตรฐานRS-232 นี้ได้รับความนิยมและใช้กันกว้างขวางมากในปัจจุบัน ซึ่งสามารถแบ่งอุปกรณ์ได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. อุปกรณ์ DTE (Data Terminal Equipment) เป็นอุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล (Output) โดยทั่วไปคอนเน็กเตอร์จะเป็นตัวผู้
2. อุปกรณ์ DCE (Data Communication Equipment) เป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูล (Input) โดยทั่วไปคอนเน็กเตอร์จะเป็นตัวเมีย
คอน เน็กเตอร์ที่นิยมใช้จะเป็นชนิด D-Type แบบ 9 ขา และแบบ 25 ขา โดยจะติดตั้งอยู่หลังเครื่องคอมพิวเตอร์ ระดับแรงดันจะมีค่าระหว่าง -3 โวลต์ ถึง-15โวลต์

ข้อดีข้อเสียของการใช้พอร์ตอนุกรม (serial port) /ขนาน (parallel port)
- พอร์ตขนานเขียนโปรแกรมรับส่งง่าย และส่งข้อมูลได้อัตราความเร็วสูง
- พอร์ตอนุกรมมีจำนวนเส้นสัญญาณน้อยกว่า  ทำให้ประหยัดค่าสายต่างๆ มากกว่า แต่ ข้อมูลหนึ่งชุดจะต้องเสียเวลาส่งนานขึ้น (เพราะต้องเรียงบิตส่งกันไป) 
ปัจจุบันข้อเด่นข้อด้อยดังกล่าวไม่ได้เห็นชัด  ทั้งนี้เพราะพอร์ตอนุกรมความเร็วสูงมีแล้ว (USB)ในขณะที่พอร์ต
อนุกรมเก่าๆ เองยังต้องมีสายควบคุมมากมาย (acknowledge bus มาก)

อ้างอิง http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=54bef6a1b5c0b594

VGA Port

วีจีเอ พอร์ต (VGA Port)
         พอร์ตนี้สำหรับต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับมอนิเตอร์ เป็นพอร์ตขนาด 15 พิน ในคอมพิวเตอร์บางเครื่องอาจจะติดตั้งการ์ดสำหรับถอดรหัสสัญญาณ MPEG เพิ่มเข้ามาซึ่งลักษณะของพอร์ตนั้นจะคล้าย ๆ กันแต่การ์ด MPEG จะมีพอร์ตอยู่สองชุดด้วยกันสำหรับเชื่อมไปยังการ์ดแสดงผลหนึ่งพอร์ต และต่อเข้ากับมอนิเตอร์อีกหนึ่งพอร์ต ดังนั้นเครื่องใครที่มีพอร์ตแบบนี้ ก็ควรจะบันทึกไว้ด้วย เพราะไม่งั้นอาจจะใส่สลับกัน จะทำให้โปรแกรมบางตัวทำงานไม่ได้



Port Fire Wire

เทคโนโลยี IEEE 1394 (Fire Wire) เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกความเร็วสูง และยังเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มของอุปกรณ์ที่ต้องการอัตราการส่งผ่าน ข้อมูลสูงๆ เช่น การ์ดตัดต่อวิดีโอหรืออุปกรณ์แบ็กอัพข้อมูลขนาดใหญ่ IEEE 1394 นั้นถูกออกแบบให้เป็นบัสอนุกรมประสิทธิภาพสูง มีลักษณะการทำงานในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ที่จะใช้การต่อเชื่อมเป็นแบบอนุกรม ซึ่งถูกพัฒนาให้มีการส่งผ่านข้อมูลสูงถึง 800 Mbps โดยเรียกกันว่า IEEE 1394 , Fire Wire หรือ I-link ซึ่งเป็นชนิดเดียวกัน
Fire Wire นั้นเป็นชื่อที่จดทะเบียนทางการค้าของ Apple Computer Inc. ส่วน i-link เป็นชื่อที่จดทะเบียนทางการค้าของ Sony Corporation และสุดท้าย IEEE-1394a (Fire Wire400) และ IEEE-1394b (Fire Wire800) เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อของกลุ่ม IEEE ซึ่งเป็นมาตรฐานของการรับ-ส่งข้อมูลขนาดใหญ่ และความเร็วสูง ระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ
การเชื่อมต่ออีกรูปแบบที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาภายหลังและมีการนำเอามาเปรียบ เทียบกันมากก็คือ มาตรฐาน USB 2.0 ซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่จะอยู่ในกลุ่มของอุปกรณ์ต่อพ่วงอย่าง เมาส์, พรินเตอร์ หรือ สแกนเนอร์ โดยจำกัดอยู่ในกลุ่มที่เคยใช้การเชื่อมต่อแบบ USB 1.1 เพราะว่า USB 2.0 ถึงแม้จะมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ 480Mbps (Fire Wire อยู่ที่ 400Mbps) แต่เมื่อใช้งานจริง Fire Wire กลับมีความเร็วเหนือกว่า เพราะว่าโปรแกรมต่างๆ ในปัจจุบัน สามารถดึงเอาประสิทธิภาพการทำงานของ Fire Wire ออกมาได้มากกว่า (แอพพลิเคชันสำหรับการตัดต่อจากกล้องวิดีโอส่วนใหญ่จะถูกออกแบบมาให้ทำงาน ร่วมกับ Fire Wire มากกว่า) และยังมีข้อเปรียบเทียบอีกอย่างก็คือ USB สามารถใช้งานได้ 1 อุปกรณ์ต่อ 1 พอร์ต USB เท่านั้น (ไม่รวมกรณีที่ใช้ USB hub) ดังนั้นคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่จึงมีพอร์ต USB ติดมากับเครื่องเยอะ (อย่างต่ำๆ ก็ 4 พอร์ต) ส่วนการใช้ USB hub ถึงแม้ว่าจะสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลายตัวแต่ก็จะทำให้ความเร็วในการใช้ งานลดลง แต่สำหรับ Fire Wire นั้น เนื่องจากใช้พื้นฐานการเชื่อมต่อแบบ Serial (อนุกรม) ทำให้สามารถต่ออุปกรณ์หลายๆ ตัวเรียงกันเป็นลูกโซ่ได้ ซึ่งทำให้สามารถใช้พอร์ต Fire Wire พอร์ตเดียวเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลายชนิด แต่ข้อเสียก็คือผู้ใช้จะต้อง อินเทอร์รัปต์ อุปกรณ์ทุกตัวที่ทำการเชื่อมต่อเสียก่อนจึงทำการถอดอุปกรณ์ตัวนั้นๆ ออกได้
ในปัจจุบัน Fire Wire ได้รับความนิยมจากผู้ผลิตอุปกรณ์ประเภทตัดต่อ แต่ก็เห็นได้ว่าคลื่นลูกหลังอย่าง USB 2.0 ก็ได้รับความนิยมมากเช่นกัน ซึ่งทำให้กลุ่มผู้พัฒนามาตรฐาน
Fire Wire ได้เปิดตัวมาตรฐาน IEEE 1394b ตัวใหม่ที่สามารถรองรับความเร็วการส่งผ่านข้อมูลได้สูงถึง 800Mbps (S800) และ 1600Mbps (S1600)



หน้าที่ 2 - พื้นฐานของ Fire Wire 

เนื่องจาก Fire Wire 800 หรือ IEEE 1394 “b” นั้น โดยพื้นฐานแล้วใช้สถาปัตยกรรมเดียวกับ Fire Wire หรือ IEEE 1394 ซึ่งถือกำเนิดในปี 1995 โดยช่วงแรกรู้จักกันในนามของ “iLINK” จาก Sony และ “Lynx” ความเร็วคือ 400Mbps และสามารถเปิดใช้งานหรือ Interrupt อุปกรณ์ได้โดยไม่ต้องเปิดเครื่องใหม่ (Hot plugging)
ในด้านการทำงานนั้นมาตรฐาน IEEE 1394 สามารถรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้มากถึง 63 ชิ้น โดยพื้นฐานของการเชื่อมต่อจะเป็นแบบ Serial แต่เวลาใช้งานจริงนั้นเนื่องจากสามารถต่อแบบแยกสาขาได้ทำให้ไม่จำเป็นต้อง เชื่อมต่ออุปกรณ์มาก ในปัจจุบัน Fire Wire กลายเป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อความเร็วสูงที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย และเนื่องจากราคาที่ถูกลงทำให้ VIA, Texas Intstrument และผู้ผลิตเมนบอร์ดหลายรายได้จับเอาพอร์ต Fire Wire ใส่ไว้ในเมนบอร์ดของบริษัท สำหรับอินเทอร์เฟซ (ส่วนหัวต่อ) จะใช้หัวต่อแบบ 6 พิน โดยสายที่ใช้เชื่อมต่อส่วนมากจะประกอบด้วยสาย 1 คู่ สำหรับส่งผ่านข้อมูลและสายอีก 2 เส้น สำหรับจ่ายไฟ ซึ่งสายแบบนี้จะสามารถรองรับการใช้ไฟได้มากที่สุดถึง 1.5A ส่วนความดันไฟที่รับได้จะอยู่ระหว่าง 8V ถึง 30V ในด้านของความยาวสายอนุญาตให้มีสายยาวที่สุดได้ 4.5 เมตร สุดท้ายข้อได้เปรียบที่ Fire Wire เหนือกว่า USB 2.0 ก็คือ สามารถใช้งานในระบบปฏิบัติการอย่าง MAC OS หรือ Linux ได้อย่างไม่มีปัญหาใดๆ และนอกจากนั้นหากใช้ชิป Fire Wire Controller ชั้นดีก็จะทำให้การทำงานผ่าน Fire Wire กินพลังประมวลผลของซีพียูเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับ USB

IEEE 1394 (Fire Wire) สามารถต่อพ่วงกันได้ แบบ Daisy Chain สูงถึง 63 อุปกรณ์ พร้อมทั้งมีความเร็วในการรับและส่งข้อมูลได้สูงถึง 400 Mbit/sec ทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและอุปกรณ์ที่สามารถใช้ได้กับ Fire Wire ไม่ใช่เพียงแต่ Digital Video เท่านั้น ยังมี อุปกรณ์อื่นๆ อีก เช่น โทรทัศน์แบบ Direct to Home (DTH) , Harddisk , Scanner , เครื่องพิมพ์, เครื่องเล่น DVD,CD เป็นต้น แต่ในงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด หรือคนนำไปใช้งานนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นงานทางด้านการตัดต่อวีดีโอหรือที่เราเรียกกันว่า "Digital Video Editing" ซึ่ง Fire Wire-1394 ก็ได้เห็นความสำคัญของงานนี้ จึงได้มีการ Bundle Software สำหรับงานตัดต่อวีดีโอมาให้พร้อมแล้วคือ "ULEAD Video Studio Ver 6.0 SE Edittion" ซึ่งจะทำให้ท่านสามารถเก็บภาพ จากอุปกรณ์วีดีโอ เข้ามาเก็บใน Harddisk และสามารถแก้ไข ตัดต่อ ภาพได้ตามความต้องการ ได้ง่ายเหมือนเป็น " Home Video Studio"



ในปัจจุบัน IEEE 1394 (Fire Wire) หรือ i-link กำลังได้รับการพัฒนาเพื่อเป็นมาตรฐานที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทบันเทิง สื่อสารข้อมูล และคอมพิวเตอร์ เข้าด้วยกัน โดยมีแนวทางหลัก ๆ ดังนี้
• ความสามารถในการส่งผ่านข้อมูลที่ 100 , 200 , 400 และ 800 Mbps
• Analog / Digital Converter จะทำเฉพาะที่อุปกรณ์เครื่องใช้ต้นทางเท่านั้น หลักจากนั้นจะเป็น Digital ทั้งหมด
• สายสัญญาณขนาดเล็กที่เชื่อมต่อสามารถขยายความยาวออกไปได้ด้วยสายเชื่อมต่อ พิเศษที่มีคุณภาพสูงกว่าและราคาแพง
• ไม่ต้องใช้จุดเปิด หรือ Terminator ไม่ต้องกำหนด device ID และไม่ต้องกำหนดหมายเลขใดๆ ที่ตัวอุปกรณ์
• Hot-pluggable คือ เราสามารถต่อเชื่อมหรือถอดอุปกรณ์ออกในขณะที่กำลังใช้งานอยู่ได้ (การเสียบ/ถอดโดยไม่ต้องปิดเครื่อง)
• ออกแบบมาให้ใช้สำหรับสินค้าประเภทคอนซูเมอร์จึงมีราคาถูก
• เป็นระบบที่ทำให้อุปกรณ์ความเร็วต่างกันสามารถใช้งานร่วมกันได้ 100 , 200 , 400 และ 800 Mbps
• รูปแบบการเชื่อมต่อที่เป็นทั้ง daisy chain การต่อแยกแบบ Tree และการต่อตรงแบบ Peer – to – Peer
• มีขบวนการในการควบคุมเวลา สำหรับการส่งผ่านข้อมูลที่มีคุณภาพ โดยมีจุดพักข้อมูลที่น้อยที่สุด
• เป็นระบบเปิดไม่ผูกขาดสำหรับสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง
• ขบวนการบริหาร “Bus” มีระบบป้องกันที่ดีมาก รวมทั้งการจัดสรรแหล่งพลังงานของทุกตัวอุปกรณ์ที่อยู่บน “Bus” เดียวกัน อุปกรณ์ต้องสามารถสัมผัสการต่อเชื่อมได้อย่างรวดเร็ว 


หน้าที่ 3 - การทำงานของเทคโนโลยี IEEE 1394 (Fire Wire) 

การนำ IEEE 1394 (Fire Wire) ไปใช้งาน
ระบบปฏิบัติการ(OS) ที่สนับสนุนการเชื่อมต่อ Fire Wire ในตระกูลพีซีก็คือ Window XP ผู้ที่ต้องการจะใช้ Fire Wire ต้องตรวจสอบว่าบนพีซีระบปฏิบัติการที่ใช้สนับสนุนหรือไม่ โดยการที่จะใช้ Fire Wire ได้นั้น เมนบอร์ดต้องสนับสนุนด้วยซึ่งต้องมีชิปเพิ่มลงไปในเมนบอร์ด สำหรับพีซีนั้น ในขณะนี้มีเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆหลายรุ่นได้ติดตั้งช่องสำหรับการต่อเชื่อม อุปกรณ์ประเภท Fire Wire มาให้แล้ว ถ้าคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานมีระบบปฏิบัติการที่ Window XP สนับสนุนการเชื่อมต่อแบบ Fire Wire แต่เมนบอร์ดที่ใช้กลับไม่มีพอร์ตดังกล่าว สามารถซื้อการ์ด Fire Wire Controller ซึ่งเป็นการ์ดที่มีอินเทอร์เฟซแบบ PCI มาติดตั้งเพิ่มเติมได้ ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชนั้นมีพอร์ต Fire Wire มาพร้อมอยู่แล้ว และอุปกรณ์ที่มีต่อพ่วงอินเทอร์เฟส Fire Wire ในขณะนี้ยังมีไม่มากนัก

เมื่อ IEEE 1394 เข้ามาแทนที่พอร์ต I/O อื่น ๆ แล้ว ประเด็นที่ต้องพิจารณา 2 ประเด็น คือ จำนวนอุปกรณ์ที่สามารถนำเข้ามาต่อพ่วงได้และมีความเร็วในการรับส่งข้อมูล แน่นอนว่าการรับส่งข้อมูลที่เร็วกว่าเดิมถึง 40 เท่า ของ USB 2.0 คงไม่สามารถจะใช้เพียง 4 เส้น คือ รับ-ส่งข้อมูล 2 เส้น และเป็นสายไฟเลี้ยง 2 เส้น อย่างใน USB 1.1 ได้ โดย Fire Wire จะใช้สายทั้งหมด 6 เส้น



จากภาพนั้นเราจะเห็นได้ชัดว่ามีสายที่ใช้สำหรับรับและส่งข้อมูล 4 เส้น โดยแยกออกจากกัน โดยข้อมูลจะส่งผ่านสายแต่ละคู่ในรูปของชุดข้อมูล โดยจะบรรจุไปด้วยข้อมูลที่ต้องการรับและส่งค่าแอดเดรสในการรับส่งข้อมูลนั้น ๆ สิ่งที่ทำให้มาตรฐาน IEEE 1394 นี้สามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง เพราะการออกแบบที่ดีของสายนำสัญญาณที่สามารถลดระดับของสัญญาณรบกวนลงได้ ทำให้สัญญาณที่ส่งไปนั้นรวดเร็วและไม่มีความผิดพลาด ซึ่งมาตรฐานที่ IEEE 1394 นั้นจะต่อกับอุปกรณ์ได้ทั้งหมด 63 อุปกรณ์ และการต่อจะมีลักษณะคล้ายกับการต่อแบบ Peer to Peer network คือ อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงอยู่นั้นจะไม่มีตัวหนึ่งตัวใดเป็นตัวควบคุมการรับส่ง ข้อมูลแต่สามารถติดต่อกันเองได้ไม่เหมือน USB ที่จะต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมแต่ Fire Wire ไม่ต้องให้คอมพิวเตอร์ควบคุมและจัดการการรับส่งข้อมูล Fire Wire หรือ IEEE 1394 นั้น อุปกรณ์สามารถสื่อสารกันเองได้ ซึ่งทำให้เกิดลักษณะการสื่อสารที่ I/O ชนิดอื่น ๆ ไม่มี การที่คอมพิวเตอร์สองเครื่องสามารถแชร์อุปกรณ์ต่อพ่วงกันได้
การรับส่งข้อมูลจะมีทั้งโหนดของ Asynchronously และ Isochronously โดยการส่งแบบ Asynchronously จะสามารถอินเทอรัปต์ได้ แต่ใน Isochronously mode จะไม่สามารถอินเทอร์รัปต์เมื่อการติดต่ออยู่ในแบบ Asynchronously mode ระบบจะจัดแบ่งแบนด์วิดธ์ตามที่อุปกรณ์ต้องการ เมื่ออุปกรณ์ต้องการส่งข้อมูล อันดับแรกมันจะส่งสัญญาณออกไปก่อนเพื่อตรวจสอบว่าสามารถส่งขึ้นไปในระบบบัส ได้หรือไม่ ถ้าตรวจพบว่าว่างแล้วจึงจะส่งข้อมูลออกมายังบัส แต่ขบวนการเช่นนี้ไม่เหมาะสมสำหรับการส่งข้อมูลแบบ streaming video เพราะหากมีอุปกรณ์อื่นต่อพ่วงอยู่และขอแบนด์วิดธ์ในการส่งขึ้นมา streaming video นั้นจะถูกอินเทอร์รัปต์ ทำให้ภาพกระตุก เป็นต้น ดังนั้น เมื่อใช้อุปกรณ์ที่ส่งข้อมูลแบบ streaming video การส่งข้อมูลมักจะเป็นแบบ Isochronously mode โดยรับรองได้ว่าข้อมูลนั้นสามารถส่งได้ตามที่อุปกรณ์นั้น ๆ ได้ขอแบนด์วิทธ์เอาไว้ และในด้านเทคโนโลยีนั้น Fire Wire จะสนับสนุนการส่งผ่านข้อมูลแบบ Isochronously mode ที่สนับสนุนแบนด์วิทธ์ของอุปกรณ์ต่างประเภทกัน โดยสนับสนุนอุปกรณ์ที่ส่งข้อมูลในลักษณะสายข้อมูล (Data Streming) อันได้แก่ Audio Video และ imaging 


หน้าที่ 4 - IEEE 1394b (Fire Wire 800) 

Fire Wire 800 หรือ IEEE 1394b นั้นได้รับการรับรองมาตรฐานตั้งแต่ปี 2002 ส่วนสิ่งที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงจาก Fire Wire รุ่นเดิมมีดังนี้
• ความเร็วการส่งผ่านข้อมูลที่สูงขึ้น Fire Wire 800 มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลอยู่ที่ประมาณ 800Mbps ซึ่งนับว่าเร็วเป็น 2 เท่าของรุ่นเดิมและจากการที่ใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสแบบเดียวกับที่ใช้ใน Gigabit Ethernet ทำให้ในทางทฤษฎีแล้ว IEEE 1394 สามารถมีความเร็วได้สูงถึง 3,200Mbps ซึ่งด้วยความเร็วขนาดนี้จะทำให้สามารถนำไปใช้ในงานตัดต่อวิดีโอขั้นสูงอย่าง High-definition (HD) Video




ลักษณะของหัว Connector ที่สามารถทำให้ Fire Wire 800 และ Fire Wire รุ่นเดิมทำงานด้วยกันได้เนื่องจาก Fire Wire 800 นั้นมีการทำงานอยู่ 2 โหมด คือโหมด beta ที่มีการเข้ารหัสความเร็วสูง ส่วนอีกโหมดก็คือ โหมด Legacy ที่จะมีความเข้ากันได้กับมาตรฐาน Fire Wire รุ่นเก่า (ทั้ง IEEE 1394-1995 และ IEEE 1394a)

• การส่งข้อมูลแบบ Real-time Fire Wire มีความแตกต่างจากเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกอื่นๆ ตรงที่สามารถส่งผ่านข้อมูลในลักษณะของ Real-time ซึ่งมีความจำเป็นมากในงานตัดต่อวิดีโอหรือเพลง ซึ่งลักษณะของการส่งผ่านข้อมูลจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ Isochronous และ Asynchronous โดยแบบแรกจะเหมาะกับงานที่ต้องการความถูกต้องของลำดับข้อมูล (เช่นการตัดต่อวิดีโอ) ในขณะที่แบบที่สองนั้นจะเหมาะกับงานที่ต้องการความครบถ้วนของข้อมูลโดยไม่ สนใจเรื่องลำดับของข้อมูล

• on-Bus power ไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้แหล่งจ่ายไฟจากภายนอก สามารถชาร์จไฟอุปกรณ์ในขณะที่ทำการเชื่อมต่อได้เลย แต่ในกรณีนี้จะใช้ไม่ได้กับหัว Connector และสายแบบ 4 พิน เพราะว่าหัวต่อและสายประเภทนี้จะไม่มีการจ่ายไฟออกมาจากพอร์ตแต่อย่างใด

• พัฒนาการที่ดีกว่า USB 2.0 การเชื่อมต่อแบบ USB 2.0 จะได้รับความนิยมมากในอุปกรณ์ภายนอกหลายชนิด แต่ยังคงด้อยกว่าในหลายๆ ด้าน ทั้งในเรื่องของความเร็ว, ความยาวของสายที่รองรับและกำลังไฟที่จ่ายผ่านพอร์ต ทำให้เมื่อเทียบกันแล้ว FireWire จะรองรับงานที่ต้องใช้การส่งผ่านข้อมูลหนักๆ อย่างงานวิดีโอ, มัลติมีเดีย, งานกราฟิกหรืองานในสตูดิโอได้ดีกว่า นอกจากนั้น FireWire 800 ยังมีลักษณะการส่งผ่านข้อมูลแบบ Peer-to-Peer ทำให้การส่งผ่านข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ด้วยกันสามารถทำได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูล ผ่านมายังคอมพิวเตอร์ก่อน ซึ่งเป็นการประหยัดเวลาและลดการใช้งานทรัพยากรของซีพียูไปได้มากเมื่อเทียบ กับ USB 




หน้าที่ 5 - การขยายขีดความสามารถของ IEEE 1394 (Fire Wire) ในอนาคต 

ข้อจำกัดของ Fire Wire

Fire Wire ไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานแบบเน็ตเวิร์กโดยเฉพาะ และโพรโตคอล IPv4 ที่ใช้กับ IEEE 1394 นั้นไม่ได้รับการปรับแต่งให้มีประสิทธิภาพด้านความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล มากนัก และสุดท้ายก็คือ ข้อจำกัดของตัวระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอง ซึ่งหากนำไปใช้กับระบบปฏิบัติอื่นๆ อย่าง Linux หรือ Unix ก็จะได้ความเร็วมากกว่านี้ แต่ข้อจำกัดที่สุดของ Fire Wire Network ก็คือ ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอยู่ในระดับต่ำมาก ทำให้เน็ตเวิร์กที่สร้างจาก Fire Wire จะเหมาะกับการใช้งานในบ้านเท่านั้นเพราะไม่ต้องสนใจเรื่องการรักษาความ ปลอดภัยกันมากมายนักทำให้ภาพรวมของการใช้งาน Fire Wire 800 เป็นระบบเน็ตเวิร์ก จะมีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ได้เท่านั้น

ขีดความสามารถของ IEEE 1394 (Fire Wire) ในอนาคต
• การเชื่อมต่อ กับระบบ gigabit
• การเชื่อมต่อ กับ 100 Mbit/s
• การขยายความยาวของสาย โดยใช้สายนำสัญญาณที่สามารถรองรับการทำงานได้ดีกว่าเดิม และการใช้ Fiber Optic
• การกำหนด A/V command และ protocol
• ระบบเชื่อมต่อระหว่างกลุ่ม ของ 1394 ด้วยกันเอง
• การทำ gateway ไปสู่ระบบสื่อสารข้อมูลอื่น ๆ เช่น ATM , Ethernet เป็นต้น

ทิศทางของ IEEE 1394 (Fire Wire)
ทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลคอมพิวเตอร์ วีดิทัศน์ เสียง โทรศัพท์ โทรสาร และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกทั้งหลายกำลังจะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ง่าย ขึ้น ซึ่งความสามารถในการเชื่อมต่อเข้าหากันโดยไม่ต้องปิดเครื่อง ทำให้ผู้ใช้ลดความกังวลในความยุ่งยากต่าง ๆ เช่น กลัวเครื่องเสียหรือกลัวไฟฟ้าซอต เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะหายไปและอุปกรณ์ที่ซับซ้อนเหล่านี้ก็จะอยู่ใกล้ชิดกับผู้คน มากขึ้น



อ้างอิง http://www.overclockzone.com/forums/showthread.php/784838-Firewire-port-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3

Port Digital Audio

สายสัญญาณ HDMI(High Definition Multimedia Interface)
1. สายสัญญาณ HDMI 
ส่งสัญญาณได้ทั้งภาพและเสียง
2. สาย HDMI ส่งผ่าน Video Resolutions จาก
 480i ขึ้นไปถึง 1080p
และใช้ได้กับโทรทัศน์   เครื่องเล่นดีวีดี  AV Receiver  เครื่องเล่น Blu-Ray Disc  เครื่องเล่น HD-DVD  HD Cable Boxes และ HD Satellite Boxes

3. สาย HDMI ที่ได้พัฒนามาแล้วมีหลาย Versions คือ HDMI 1.0, HDMI 1.1, HDMI 1.2, HDMI 1.3 รวมทั้ง HDMI 1.3a, 1.3bและในปัจจุบัน มีสาย HDMI Version 1.4a ออกมาขายแล้ว



HDMI 1.0
 เป็น Version แรกของสาย HDMI ซึ่งส่งผ่านสัญญาณ Digital Video และสัญญาณเสียงแบบ 2-Channel โดยสายชุดเดียวนี้

HDMI 1.1 สามารถเพิ่มการส่งผ่านสัญญาณ Dolby Digital, DTS, และ DVD-Audio Surround Signals รวมทั้ง 7.1 Channels 
PCM Audio
HDMI 1.2   เพิ่มความสามารถการส่งผ่านสัญญาณ SACD แบบดิจิตอล
HDMI 1.3   เพิ่มความสามารถทางด้าน Audio และVideo อันเนื่องมาจากการพัฒนา Blu-Ray Disc และ HD-DVD ซึ่ง Version 1.3 สามารถส่งผ่าน Digital bitstreams สำหรับ High resolution audio format แบบใหม่ได้ รวมทั้งระบบ Dolby Digital Plus, 
Dolby True HD และ DTS-HD
HDMI 1.3a ปรับปรุงความสามารถทางด้าน Audio และ Video ขึ้นอีก โดยการเพิ่ม Bandwidth เพิ่มความสามารถในการส่งผ่าน Color Depth ได้ถึง 48-bits และสามารถรองรับ Resolution ได้สูงกว่า 1080p
HDMI 1.4  อ่านรายละเอียดที่นี

หมายเหตุ : การใช้สายสัญญาณ HDMI ในระบบใหม่ๆ จะช่วยลดจำนวนสายที่ต่อมากมายทางด้านหลังเครื่องลงได้
HDMI Splitter

กล่องแยกสัญญาณ HDMI จาก 1 Input ออกไปหลายๆ Output นั้น มีใช้กันมาก โดยเฉพาะในร้านขายเครื่องรับโทรทัศน์ตามศูนย์การค้าต่างๆที่เราจะเห็นเขาเปิดโทรทัศน์ทีละหลายๆเครื่องพร้อมกัน โดยแสดงรายการเดียวกัน เพื่อโฆษณา ร้านเหล่านี้ใช้การแยกสัญญาณ HDMIโดยใช้กล่อง HDMI Splitter ซึ่งแยกสัญญาณออกเป็น 2, 4 ,8 เครื่อง เป็นต้น  ดังนั้น ภาพจากโทรทัศน์ทุกเครื่องจะชัดเท่าๆกันหมด  นอกจากนั้นก็มีสายแยกสัญญาณ HDMI หรือ HDMI Splitter Cable เข้า ออก ออกมาขายด้วย แต่ในการใช้งานนั้น ควรจะต้องเช็คว่าใช้ 2 Output พร้อมกันได้หรือไม่


S-Video Splitter
S-Video Splitter แบบง่ายๆ มีสัญญาณ S-Video เข้า 1 ขั้วและมีสัญญาณ S-Video ออก จำนวน ขั้ว ตามรูปข้างล่างนี้  การใช้งานจะเป็นอย่างไรนั้น  คงจะต้องหาโอกาสทดสอบต่อไป


S-Video Splitter แบบ Adapter 

S-Video Splitter แบบเป็นสายแยก
ตัวอย่างการใช้งานของ S-Video Splitter เช่น จากกล่องรับสัญญาณทรทัศน์ผ่านดาวเทียม TrueVision จะมีช่องต่อ S-Video Out มาให้ ช่อง ซึ่งปกติจะใช้ต่อเข้า TV เพราะได้คุณภาพดีกว่าการต่อโดยใช้สาย AV (RCA) และหากต้องการบันทึกรายการโทรทัศน์ลงเครื่อง DVD Recorder ด้วย ก็ทำได้โดยใช้S-Video Splitter  (แต่คุณภาพจะ Degrade ลงหรือไม่นั้น ผู้เขียนยังไม่ทราบ เพราะต้องอหาอุปกรณ์มาทดสอบก่อน) ดูข้อมูลรายละเอียดเพิ่มคลิกที่นี่
(สัญญาณ Audio ต้องต่อสายต่างหาก)
สำหรับ 
S-Video Splitter แบบที่เป็นสายขั้วที่สัญญาณเข้า เป็นแบบ Male และขั้วที่ต่อสัญญาณออก เป็นแบบ Female
ดูรายละเอียดได้ที่นี่
DataVideo VP-299 Distribution Amplifier(S-Video & Composite Video Distribution Amplifier)

ทำหน้าที่เป็น S-Video & Composite Video Distribution Amplifier คือมีสัญญาณเข้า ชุด และสัญญาณออก ชุด มีขายในประเทศไทย ในราคาประมาณ 6,366 บาท (รวม VAT) อ่านรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ของ DataVideo  แต่ถ้าจะสั่งซื้อทาง Internet จากเว็บไซต์ต่างประเทศ ก็ได้ที่ B&H PhotoVideo 
ในราคา 115 เหรียญสหรัฐ แต่ถ้ารวมค่าส่ง 71 เหรียญ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ถูกเก็บในการนำเข้า ได้แก่ ค่าอากรขาเข้า ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่จ่ายให้กรมศุลกากร เป็นเงิน 769 บาท และสำหรับ UPS ในการนำของส่งถึงบ้านอีก 214บาท รวมเป็นเงิน 983 บาท ดังนั้น จะต้องจ่ายทั้งสิ้น 6,563 บาท (เป็นที่น่าสังเกตว่า คิดภาษีจากราคาของ แต่คงจะคิด ละ 40 บาท ซึ่งอัตรานี้ควรจะทบทวนใหม่ได้แล้ว จะได้เป็นการส่งเสริมการใช้ E-Commerce) สำหรับของบางรายการที่สั่งเข้ามาโดยใช้บริการไปรษณีย์ เช่น USPS  เมื่อมาถึงประเทศไทยแล้ว ท่านจะได้รับจดหมายแจ้งมาจากไปรษณีย์ไทย ให้ไปรับของเองที่ ที่ทำการไปรษณีย์ (ซึ่งเป็นวิธีที่เก่าแก่มาก ความจริงควรจะมีบริการส่งของถึงบ้านโดยคิดค่าบริการ เช่น UPS, DHL, FedEx  เป็นต้น ก็จะมีรายได้มากขึ้นและผู้ซื้อก็จะได้รับของเร็วขึ้น เพราะของที่ไม่ใหญ่มาก สามารถใช้ส่งโดยรถมอเตอร์ไซต์ได้ หรือ Outsourcing ให้บริษัทรับช่วงดำเนินการ)

ตัวอย่าง Diagram การต่อสัญญาณจาก Satellite Cable TV Receiver ออกไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ เครื่อง และ DVD Recorder 1 เครื่องโดยใช้ DataVideo VP - 299 Distribution Amplifier ซึ่งได้ทดสอบการใช้งานแล้ว ได้ผลดี สัญญาณที่ออก มีคุณภาพดีเหมือนเดิม

หมายเหตุ : TV 1 และ TV 2 จะรับชมรายการโทรทัศน์เดียวกัน  และในภาพแสดงS-Video & Audio Out  เพียง ชุด จาก ชุด

S-Video & Audio Splitter


เครื่องแยกสัญญาณ 
S-Video ละ Audio (RCA) ที่แสดงข้างล่างนี้ มี S-Video ละ Audio Input 1 ชุด และแยกสัญญาณออกได้ 4ชุด โดยมี Amplifier ช่วย

รายละเอียด อ่านได้จาก 
Link นี้
และจากเว็บไซต์ของ 
Video Products Incซึ่งระบุว่า ไม่มีการ Degrade คุณภาพของภาพ และมีอุปกรณ์สายเชื่อมโยงให้เลือกด้วย

 




อ้างอิง http://www.somkiet.com/AudioVideo/SignalCable.htm

Port Digital Video

เคยสงสัยกันไหมว่าพอร์ตรับสัญญาณต่างๆ ที่อยู่ด้านหลังสมาร์ททีวี, โน้ตบุ๊ก, คอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ตนั้น แต่ละพอร์ตเค้าเรียกกันว่าอะไรและมีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร? ทำไมถึงต้องมีมากมายหลายพอร์ต วันนี้เราจะมาทำความรู้จักพอร์ตรับสัญญาณภาพต่างๆ ที่เรามักพบเห็นเป็นประจำ 
พอร์ต HDMI (High Definition Multimedia Interface)
เป็นพอร์ตสำหรับเชื่อมต่อเพื่อส่งสัญญาณมัลติมีเดียทั้งภาพและเสียงในระบบดิจิทัล ซึ่งทำให้ได้ภาพที่มีความละเอียดสูง และคมชัด สามารถรับชมหนังคุณภาพระดับ Blu-ray ได้ไม่มีสะดุด โดยคุณสมบัติหลักของ HDMI ถูกออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภค เพื่อให้ได้รับความบันเทิงอย่างเต็มรูปแบบทั้งภาพและเสียง พร้อมรองรับมัลติมีเดียต่างๆ ที่มีคุณภาพระดับ High Definition โดยไม่มีการบีบอัดข้อมูล อีกทั้งเวลาติดตั้งก็ไม่จำเป็นต้องต่อสายอื่นเพิ่มเติมให้เกิดความยุ่งยากเหมือนในอดีต ซึ่ง HDMI ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ทั้งสมาร์ททีวี, แท็บเล็ต เป็นต้น 
พอร์ต Component
เป็นพอร์ตที่รับสัญญาณภาพอะนาล็อกคุณภาพสูง โดยสนับสนุนภาพที่มีความละเอียด 1080i ซึ่งจะมีช่องรับสัญญาณ 3 ช่องแยกตามสี RGB คือ แดง, เขียว, ฟ้า ที่ทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนและสีสันสดใส โดยเป็นพอร์ตมาตรฐานที่ใช้กับเครื่องเล่น DVD รุ่นเก่า และในปัจจุบันก็ยังใช้กันอยู่เป็นส่วนมาก แต่จะให้ความคมชัดของภาพน้อยกว่าพอร์ต HDMI
พอร์ต S-Video
ย่อมาจาก Separate Video เป็นพอร์ตรับสัญญาณภาพจากวีดีโอแบบอะนาล็อก สนับสนุนภาพที่มีความละเอียด 480i หรือ 576i โดยสามารถแยกสัญญาณได้ออกเป็น 2 สัญญาณ คือ ความสว่างและสี ซึ่งคุณภาพของภาพที่ได้จะดีกว่าพอร์ต Composite/AV
พอร์ต Composite หรือพอร์ต AV
เป็นพอร์ตสำหรับเชื่อมต่อเพื่อส่งสัญญาณภาพและเสียง มีช่องรับสัญญาณ 3 ช่องแยกตามสีขาว, เหลือง, แดง โดยมีการแยกสัญญาณภาพเป็นหนึ่งพอร์ต (สีเหลือง) และสัญญาณเสียงซ้าย,ขวาอย่างละพอร์ต (สีขาว, แดง) ซึ่งจะให้ภาพที่มีความละเอียดน้อยกว่าพอร์ตต่างๆ ที่กล่าวมา โดยพอร์ตนี้จะเป็นพอร์ตมาตรฐานที่ใช้อย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็น สมาร์ททีวี หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
พอร์ต DVI (Digital Visual Interface) 
เป็นพอร์ตสำหรับเชื่อมต่อเพื่อรับสัญญาณภาพจากคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊ก โดยเป็นการรับสัญญาณภาพแบบดิจิทัล ซึ่งจะให้ภาพมีความคมชัดมากกว่าพอร์ต VGA
พอร์ต VGA (Video Graphic Array) 
พอร์ต VGA หรือพอร์ต D-Sub เป็นพอร์ตสำหรับเชื่อมต่อเพื่อรับสัญญาณภาพจากคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊ก ซึ่งเป็นการรับสัญญาณภาพแบบอะนาล็อก โดยส่วนใหญ่มักจะพบในสมาร์ททีวี, คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ทั้งนี้ อุปกรณ์แต่ละประเภทก็จะมีพอร์ตเชื่อมต่อที่แตกต่างกัน เพื่อความเหมาะสมและประสิทธิภาพในการทำงานอย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งในอนาคตอาจจะมีการพัฒนาพอร์ตรับสัญญาณภาพเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการความคมชัดของภาพที่มากขึ้นตามยุคตามสมัย 

.Port Keyboard

 Keyboard Port

          เป็นพอร์ต์ที่ใช้สำหรับต่อสายเม้าส์กับสายคีย์บอร์ดเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเรียกว่าพีเอสทูเม้าส์หรือพีเอสทูคีย์บอร์ด ซึ่งพอร์ตจะมีรูกลมหกรู แล้วก็รูสี่เหลี่ยมหนึ่งรู ซึ่งปลายสายคีย์บอร์ดหรือเม้าส์ก็จะมีเข็มที่ตรงกับตำแหน่งของรูที่พอร์ตด้วย การเสียบสายเม้าส์และคีย์บอร์ดเข้าไป ต้องระวังให้เข็มตรงกับรู สำหรับพอร์ตเม้าส์และคีย์บอร์ดนั้นจะใช้ Color Key แสดงเอาไว้ สีเขียวคือต่อสายเม้าส์ ส่วนสีน้ำเงินต่อสายคีย์บอร์ด นอกจากนี้ยังมีจุดสังเกตุอีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อประกอบเมนบอร์ดเข้ากับเคส ที่เคสจะมีสัญลักษณ์รูปเม้าส์กับรูปคีย์บอร์ด ติดอยู่ เพื่อให้ต่อสายเม้าส์และคีย์บอร์ดได้ถูกต้อง


Port Mouse

PS2 Mouse - Keyboard




PS/2 Mouse, PS/2 Keyboard Port

          เป็นพอร์ต์ที่ใช้สำหรับต่อสายเม้าส์กับสายคีย์บอร์ดเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเรียกว่าพีเอสทูเม้าส์หรือพีเอสทูคีย์บอร์ด ซึ่งพอร์ตจะมีรูกลมหกรู แล้วก็รูสี่เหลี่ยมหนึ่งรู ซึ่งปลายสายคีย์บอร์ดหรือเม้าส์ก็จะมีเข็มที่ตรงกับตำแหน่งของรูที่พอร์ตด้วย การเสียบสายเม้าส์และคีย์บอร์ดเข้าไป ต้องระวังให้เข็มตรงกับรู สำหรับพอร์ตเม้าส์และคีย์บอร์ดนั้นจะใช้ Color Key แสดงเอาไว้ สีเขียวคือต่อสายเม้าส์ ส่วนสีน้ำเงินต่อสายคีย์บอร์ด นอกจากนี้ยังมีจุดสังเกตุอีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อประกอบเมนบอร์ดเข้ากับเคส ที่เคสจะมีสัญลักษณ์รูปเม้าส์กับรูปคีย์บอร์ด ติดอยู่ เพื่อให้ต่อสายเม้าส์และคีย์บอร์ดได้ถูกต้อง


อ้างอิง http://www.zabzaa.com/hardware/ps2_port.htm

Port Scanner

Port Scanning เป็นหนึ่งในเทคนิคที่โด่งดังที่สุดที่ผู้โจมตีใช้ในการค้นหาบริการที่พวกเขาจะสามารถเจาะผ่านเข้าไปยังระบบได้ โดยปกติแล้วทุก ๆ ระบบที่ต่อเข้าสู่ระบบ LAN หรือระบบอินเทอร์เน็ตจะเปิดบริการทั้งที่อยู่บนพอร์ตที่เป็นที่รู้จักและที่ไม่เป็นที่รู้จัก สำหรับการทำ Port Scanning นั้น ผู้โจมตีจะสามารถค้นหาข้อมูลได้มากมายจากระบบของเป้าหมาย ได้แก่ บริการอะไรบ้างที่กำลังรันอยู่ ผู้ใช้คนไหนเป็นเจ้าของบริการเหล่านั้น สนับสนุนการล็อกอินด้วย anonymous หรือไม่ และบริการด้านเครือข่ายมีการทำ authentication หรือไม่ การทำ Port Scanning ทำได้โดยการส่งข้อความหนึ่งไปยังแต่ละพอร์ต ณ เวลาหนึ่ง ๆ ผลลัพธ์ที่ตอบสนองออกมาจะแสดงให้เห็นว่าพอร์ตนั้น ๆ ถูกใช้อยู่หรือไม ่และสามารถทดสอบดูเพื่อหาจุดอ่อนต่อไปได้หรือไม่ Port Scanners มีความสำคัญต่อผู้ชำนาญด้านความปลอดภัยของเครือข่ายมากเพราะว่ามันสามารถเปิดเผยจุดอ่อนด้านความปลอดภัยที่มีความเป็นไปได้ของระบบเป้าหมาย 

ถึงแม้ว่า Port Scans สามารถเกิดขึ้นกับระบบของคุณ แต่ก็สามารถตรวจจับได้และก็สามารถใช้เครื่องมือที่เหมาะสมมาจำกัดจำนวนของข้อมูลเกี่ยวกับบริการที่เปิดได้ ทุกๆระบบที่เปิด สู่สาธารณะจะมีพอร์ตหลายพอร์ตที่เปิดและพร้อมให้ใช้งานได้ โดยมีการจำกัดจำนวนพอร์ตที่จะเปิดให้แก่ผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตและปฏิเสธการเข้าถึงมายังพอร์ตที่ปิด

เทคนิคต่าง ๆ ของ Port Scan 
ก่อนที่คุณจะป้องกัน Port Scans คุณก็จะต้องเข้าใจเสียก่อนว่า Port Scans ทำงานอย่างไร เนื่องจากมีเทคนิคของ Port Scanning อยู่มากมายหลายรูปแบบ ซึ่งมีเครื่องมือ Port Scanning ที่ทำงานโดยอัตโนมัติ เช่น Nmap และ Nessus

การ scan ต่อไปนี้เป็นรูปแบบมาตรฐานสำหรับ Nmap และ Nessus
1. Address Resolution Protocol (ARP) scans จะตรวจหาอุปกรณ์ที่ทำงานในเครือข่ายโดยการส่งชุดของ ARP broadcasts และเพิ่มค่าของฟิลด์ที่บรรจุ IP address ของเป้าหมายในแต่ละ broadcast packet การ scan ชนิดนี้จะได้รับผลตอบสนองจากอุปกรณ์ที่มี IP บนเครือข่ายออกมาในรูปแบบของ IP address ของแต่ละอุปกรณ์ การ scan แบบนี้จึงทำการ map out ได้ทั้งเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ

2.The Vanilla TCP connect scan เป็นเทคนิคการ scan แบบพื้นฐานและง่ายที่สุด คือจะใช้ connect system call ของระบบปฏิบัติการไปบนระบบเป้าหมายเพื่อเปิดการเชื่อมต่อไปยังทุก ๆ พอร์ตที่เปิดอยู่ การ scan ชนิดนี้สามารถจับได้ง่ายมาก โดยล็อก (log) ต่าง ๆ ของระบบที่เป็นเป้าหมายจะแสดงการร้องขอการเชื่อมต่อ (connection requests ) และข้อความแสดงข้อผิดพลาด (error messages) สำหรับบริการที่ตอบรับการเชื่อมต่อนั้น

3.The TCP SYN (Half Open) scans เทคนิคนี้บางครั้งถูกเรียกว่า half open เพราะว่าระบบที่ทำการโจมตีไม่ได้ปิดการเชื่อมต่อที่ได้เปิดไว้ scanner จะส่ง SYN packet ไปยังเป้าหมายและรอการตอบสนอง ถ้าพอร์ตถูกเปิดไว้เป้าหมายก็จะส่ง SYN/ACK กลับมา แต่ถ้าพอร์ตถูกปิดอยู่ เป้าหมายก็จะส่ง RST กลับมา วิธีการ scan รูปแบบนี้ยากต่อการตรวจจับ ปกติเครื่องที่เป็นเป้าหมายจะทำหน้าที่ปิดการเชื่อมต่อที่เปิดไว้ และส่วนใหญ่จะไม่มีระบบการล็อกที่เหมาะสมในการตรวจจับการ scan ชนิดนี้

4.The TCP FIN scan  เทคนิคนี้สามารถที่จะทะลุผ่านไฟล์วอลล์ ส่วนใหญ่, packet filters , cละโปรแกรมตรวจจับการ scan ไปได้โดยไม่ถูกตรวจพบ เพราะระบบที่ทำการโจมตีจะส่ง FIN packets ไปยังระบบของเป้าหมาย สำหรับพอร์ตต่าง ๆ ที่ปิดอยู่จะตอบสนองกลับไปด้วย RST ส่วนพอร์ตที่เปิดจะไม่สนใจ packets เหล่านั้นเลย ดังนั้นเครื่องที่ทำการโจมตีก็จะได้ข้อมูลว่ามันได้รับ RST จากพอร์ตไหนบ้างและไม่ได้ RST จากพอร์ตไหนบ้าง

5.The TCP Reverse Ident scan  เป็นเทคนิคที่สามารถตรวจหาชื่อของเจ้าของแต่ละโพรเซสที่เป็นการเชื่อมต่อด้วย TCP บนเครื่องเป้าหมาย การ scan ชนิดนี้จะทำให้ระบบที่ทำการโจมตีสามารถเชื่อมต่อเข้าไปยังพอร์ตที่เปิดอยู่และใช้ ident protocol ในการค้นหาว่าใครเป็นเจ้าของโพรเซสบนเครื่องเป้าหมายได้

6.The TCP XMAS ถูกใช้เพื่อหาพอร์ตบนเครื่องเป้าหมายที่อยู่ในสถานะ listening โดยจะส่ง TCP packet ที่มี flag เป็น URG, PSH และ FIN ใน TCP header ไปยังพอร์ตของเครื่องเป้าหมาย ถ้าพอร์ต TCP ของเครื่องเป้าหมายปิดอยู่ พอร์ตนั้นก็จะส่ง RST กลับมา แต่ถ้าพอร์ตเปิดอยู่ก็จะไม่สนใจ packet นั้นเลย

7.The TCP NULL scan เทคนิคนี้จะส่ง TCP packet ที่มี sequence number แต่ไม่มี flag ออกไปยังเครื่องเป้าหมาย ถ้าพอร์ตปิดอยู่จะส่ง กลับมา RST packet กลับมา แต่ถ้าพอร์ตเปิดอยู่ ก็จะไม่สนใจ packet นั้นเลย

8.The TCP ACK scan เป็นเทคนิคที่ใช้ค้นหาเว็บไซต์ที่เปิดบริการอยู่ แต่ปฏิเสธการตอบสนองต่อ ICMP ping หรือค้นหากฎ (rule) หรือนโยบาย ( policy) ต่าง ๆ ที่ตั้งไว้ที่ไฟล์วอลล์เพื่อตรวจสอบดูว่าไฟล์วอลล์สามารถกรอง packet อย่างง่าย ๆ หรือเทคนิคชั้นสูง โดยการ scan แบบนี้จะใช้ TCP packet ที่มี flag เป็น ACK ส่งไปยังพอร์ตเครื่องปลายทาง ถ้าพอร์ตเปิดอยู่ เครื่องเป้าหมายจะส่ง RST กลับมา แต่ถ้าปิดอยู่ก็จะไม่สนใจ packet นั้น

9.The FTP Bounce Attack ใช้โพรโตคอล ftp สำหรับสร้างการเชื่อมต่อบริการ ftp ของ proxy วิธีการ scan แบบนี้ ผู้โจมตีจะสามารถซ่อนตัวอยู่หลัง ftp server และ scan เป้าหมายอื่น ๆ ได้โดยไม่ถูกตรวจจับ ดังนั้น ftp servers ส่วนใหญ่จะมีการ disable บริการของ ftp เพื่อความปลอดภัยของระบบ

10.The UDP ICMP port scan ใช้โพรโตคอล UDP ในการ scan หาพอร์ตหมายเลขสูง ๆ โดยเฉพาะในระบบ Solaris แต่จะช้าและไม่น่าเชื่อถือ

11.The ICMP ping-sweeping scan จะใช้คำสั่ง ping เพื่อกวาดดูว่ามีระบบไหนที่เปิดใช้งานอยู่ เครือข่ายส่วนใหญ่จึงมีการกรองหรือ disabled
โพรโตคอล ICMP เพื่อความปลอดภัยของระบบ



อ้างอิง http://www.compspot.net/index.php?option=com_content&task=view&id=329&Itemid=46

วิวัฒนาการ Port USB

ช่องสำหรับต่อเชื่อม (Port)
พอร์ต เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างตัวคอมพิวเตอร์ กับอุปกรณ์ภายนอก ปกติพอร์ตจะอยู่ด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์
59246
รู้จักชนิดของ Port (Port)
FireWire (เรียกโดย Apple) หรือ Sony ใช้ชื่อว่า i.Link (อ่านว่า "ไอ ลิ้ง")
หรือที่นักวิชาการเรียกว่า IEEE1394 (อ่านว่า "ไอ อี อี อี หนึ่ง สาม เก้า สี่" หรือ " ไอ ทริปเปิ้ลอี หนึ่ง สาม เก้า สี่") High Performance Serial Bus เป็นสายรับส่งข้อมูลดิจิตอลรุ่นใหม่ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ มีลักษณะรูปร่างหน้าตาและลักษณะการใช้งานคล้าย USB มาก แต่ FireWire สามารถทำงานที่ความเร็วสูงกว่า USB มาก (ปัจจุบันมี Data Transfer Rate 400 Mbps ซึ่งเร็วกว่า USB V1.1 ถึงประมาณ 30 เท่า) และ FireWire มีจุดใช้งานหลักอยู่บนเครื่อง Macintosh ซึ่งในปัจจุบันมี mainboard ของ PC ทั่วไปที่มี port FireWire มาให้บ้างแล้ว แต่ยังไม่เป็นที่นิยมกัน เนื่องจากราคาค่อนข้างสูง และอุปกรณ์สนับสนุนส่วนใหญ่ยังเป็นของ Macintosh
วีจีเอ พอร์ต (VGA Port)
พอร์ตนี้สำหรับต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับมอนิเตอร์ เป็นพอร์ตขนาด 15 พิน ในคอมพิวเตอร์บางเครื่องอาจจะติดตั้งการ์ดสำหรับถอดรหัสสัญญาณ MPEG เพิ่มเข้ามาซึ่งลักษณะของพอร์ตนั้นจะคล้าย ๆ กันแต่การ์ด MPEG จะมีพอร์ตอยู่สองชุดด้วยกันสำหรับเชื่อมไปยังการ์ดแสดงผลหนึ่งพอร์ต และต่อเข้ากับมอนิเตอร์อีกหนึ่งพอร์ต ดังนั้นเครื่องใครที่มีพอร์ตแบบนี้ ก็ควรจะบันทึกไว้ด้วย เพราะไม่งั้นอาจจะใส่สลับกัน จะทำให้โปรแกรมบางตัวทำงานไม่ได้
พอร์ตอนุกรม (Serial Port)
เป็นพอร์ตสำหรับต่อกับอุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต โดยส่วนใหญ่เราจะใช้สำหรับต่อกับเมาส์ในกรณีที่คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นไม่มีพอร์ต PS/2 หรือเป็นเคสแบบ AT นอกจากนั้นเรายังใช้สำหรับเป็นช่องทางการติดต่อโมเด็มด้วย ในคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องจะมีพอร์ตอนุกรมให้อยู่สองพอร์ต เรียกว่าพอร์ตคอม 1 และพอร์ตคอม 2 นอกจากนั้นอาจจะมีฮาร์ดแวร์บางตัว เช่น จอยสติ๊กรุ่นใหม่ ๆ มาใช้พอร์ตอนุกรมนี้เช่นกัน
• พอร์ตอนุกรมจะมีหัวเข็ม 9 เข็ม หรือ 25 เข็ม (พอร์ตนี้จะเป็นตัวผู้ เพราะมีเข็มยื่นออกมา) • พอร์ตนี้จะต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เม้าส์ โมเด็ม สแกนเนอร์ เป็นต้น • สามารถต่อความยาวได้ถึง 6 เมตร
พอร์ตขนาน (Pararell Port)
หน้าที่ของพอร์ตตัวนี้ก็คือใช้สำหรับติดต่อกับเครื่องพิมพ์เป็นหลัก ปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถใช้งานร่วมกับสแกนเนอร์ หรือว่าไดรฟ์ซีดีอาร์ดับบลิวได้ด้วย พอร์ตแบบนี้มีขนาดยาวกว่าพอร์ตอนุกรมทั่ว ๆ ไป โดยมีจำนวนพินเท่ากับ 25 พิน สังเกตได้ง่าย
• พอร์ตขนานจะมีรู 25 รู (พอร์ตนี้จะเป็นตัวเมีย หมายถึงมีรูที่ตัวพอร์ต) • พอร์ตนี้จะต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เทปไดร์ฟ สแกนเนอร์ เป็นต้น • สามารถต่อความยาวไม่มากนัก ราคาแพงกว่าสายของพอร์ตอนุกรม • การส่งสัญญาณจะส่งได้เร็วกว่าพอร์ตอนุกรม
พอร์ตยูเอสบี (USB Port)
พอร์ตยูเอสบี เป็นพอร์ตแบบใหม่ล่าสุด ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับพีซีคอมพิวเตอร์ ให้สามารถรับส่งข้อมูลให้รวดเร็วขึ้น สามารถต่ออุปกรณ์ได้มากถึง 127 ชิ้น เพราะมีแบนด์วิดธ์ในการรับส่งข้อมูลสูงกว่า พอร์ตแบบนี้ถูกออกแบบมาให้ใช้กับระบบปลั๊กแอนด์เพลย์บนวินโดวส์ 98 ปัจจุบัน มีฮาร์ดแวร์จำนวนมากที่สนับสนุนการเชื่อมต่อแบบนี้ เช่น กล้องดิจิตอล เมาส์ คีย์บอร์ด จอยสติ๊ก สแกนเนอร์ ซีดีอาร์ดับบลิว เป็นต้น สำหรับคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ จะมีพอร์ตแบบนี้จะมีพอร์ตแบบนี้อยู่ในเครื่องเรียบร้อยแล้ว
• คอมพิวเตอร์ปกติจะมี 2 USB Port ถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าที่ไม่มี USB สามารถหาซื้อการ์ด USB มาติดตั้งได้ • เป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สูงประมา 3-5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1-2 เซ็นติเมตร • พอร์ตชนิดใหม่รับส่งความเร็วได้สูงกว่า port ทั่ว ๆ ไป • สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อเนื่องได้ 127 ตัว • เป็นมาตราฐานใหม่ที่มีมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ • การติดตั้ง เพียงต่ออุปกรณ์เข้ากับ USB port ก็สามารถใช้งานอุปกรณ์นั้นๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้อง boot เครื่องใหม่
พอร์ตมัลติมีเดีย (Multimedia Port)
ปัจจุบันนี้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง มักจะติดตั้งการ์ดเสียงมาให้ด้วย ซึ่งการ์ดนี้จะมีช่องสำหรับต่อกับลำโพง ไมโครโฟน และพอร์ตสำหรับต่อกับจอยสติ๊กอยู่ในตัวโดยพอร์ตต่าง ๆ นั้นจะใช้สีแสดงหน้าที่การทำงาน เช่น ช่องสำหรับต่อลำโพงจะใช้แจ๊กสีเขียว ส่วนไมโครโฟนจะแทนที่ด้วยสีแดง และสีอื่น ๆ สำหรับแทนที่ Line In และ Line Out นอกจากนั้นการ์ดเสียงรุ่นราคาถูก อาจจะไม่ใช้สีแสดงการทำงานของแจ๊กแต่ละตัว แต่จะมีสัญลักษณ์แสดงการทำงานสลักติดอยู่แทน
คุณสมบัติของพอร์ตแบบต่างๆ
1.พอร์ตอนุกรม(RS-232C) ปีที่เริ่มต้นใช้งาน 1965 ความเร็วในการถ่ายโอนไฟล์ 57 kbps 2.พอร์ตขนาน ปีที่เริ่มต้นใช้งาน 1980 ความเร็วในการถ่ายโอนไฟล์ 1-4 Mbps 3.SCSI ปีที่เริ่มต้นใช้งาน 1985 ความเร็วในการถ่ายโอนไฟล์ 4-80 Mbps 4.Firewire ปีที่เริ่มต้นใช้งาน 1995 ความเร็วในการถ่ายโอนไฟล์ 400 Mbps 5.USB 1.1 ปีที่เริ่มต้นใช้งาน 1996 ความเร็วในการถ่ายโอนไฟล์ 12 Mbps 6.USB 2.0 ปีที่เริ่มต้นใช้งาน 2000 ความเร็วในการถ่ายโอนไฟล์ 480 Mbps